ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติม...ที่นี่

Custom Search

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

บ้าน "แต่กงสี" เรื่องราวของ "แซ่แต้" สายเมืองตะกั่วป่า

นายแต่ฮกจ๋าย (พี่ภรรยาขุนจำนงภักดี)เป็นคนใจบุญ ก่อนเสียชีวิตได้บริจาคบ้านเลขที่ ๒๑ ถนนอุดมธารา พร้อมที่ดินให้กับลูกหลานตระกูลแซ่แต่ที่ไม่มีที่อยู่ได้พักอาศัย

โดยมอบหมายให้นายไข่ แซ่แต่ ,นายบุญมา แต่สกุลและนายจู้กีแต่สกุลเป็นผู้ดูแล เมื่อทั้งสามท่านเสียชีวิตได้มอบหมายให้นายอุดม,นายอุทัยและนายเค่ง เป็นผู้ดูแลต่อมา ปัจจุบันบ้านนี้ให้นายเฉยเช่าอยู่ และให้ช่วยดูแลพระประจำตระกูล “พระแต่ก๊กเซ่ง”

ทุกวันเกิดพระในแต่ละปี คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ตามปฏิทินจีนจะมีการจัดงานเลี้ยงพบปะสังสรรค์ขึ้น เริ่มครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๖

จากภาพคือพระประจำตระกูล ท่าน "แต่ก๊กเซ่ง" สร้างจากไม้แกะสลักประมาณรัชกาลที่ ๔ (ซ้ายบน) และเพื่อนของท่าน ชื่อ "เล่าก๊กเอี้ยน" (ขวาบน) พระเจ้าตากสินมหาราช พระนามเดิม นายสิน แซ่แต้ (ซ้ายล่าง) ฉากวาดภาพจีนโบราณ (ขวาล่าง)

ในภาษาปักษ์ใต้ แซ่แต้ จะออกเสียงว่า แซ่แต่



วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สุนทรพจน์ “เด็กดีต้องมีระเบียบวินัย”

        เสียงระฆัง ครั้งสอง ดังก้องกึก นักเรียนวิ่ง กันคักคึก มาเข้าแถว
แต่ละชั้น พร้อมหน้า รักษาแนว เป็นระเบียบ วินัยแน่ว น่านิยม
ร้องเพลงชาติ เคารพธง ตรงเวลา ก่อนเริ่มรับ วิทยา เป็นปฐม
แล้วเข้าห้อง ครูประเดิม เริ่มอบรม วิชาการ เพื่อสะสม ซึ่งความดี


เรียนท่านคณะกรรมการและท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ดิฉัน ด.ญ.มนต์นภา วังชนะกุล ตัวแทนนักเรียนจาก โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีตะกั่วป่า เทศบาลเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ค่ะ

บ่อยครั้งที่การใช้ชีวิตประจำวัน ต้องพบเจอคนหลายแบบหลายประเภททั้งดีและไม่ดี บ้างก็มีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎสังคมที่ตั้งไว้ แต่ก็มีบ้างแหละค่ะ คนประเภทที่ชอบแหกกฎ เน้นความสะดวกและไม่ค่อยนึกถึงคนอื่น ยิ่งในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ด้วยแล้ว เราพบคนแบบนี้อยู่ทุกวัน ในเมื่อต้นแบบเป็นซะอย่างนี้แล้วเด็กๆ ของเราล่ะจะเป็นอย่างไร

          ไม่แปลกใจเลยค่ะ เวลาออกนอกบ้านแล้วจะต้องเกิดการตั้งคำถามเรื่องของระเบียบวินัยอยู่เรื่อยเชียว  “ทำไมคนนั้นเขาไม่ต่อแถวละคะ” หรือ “ทำไมรถคันนั้นฝ่าไฟแดง” และอื่นๆ อีกมากมาย

มงคลชีวิต ๓๘ ประการได้กล่าวในหัวข้อที่ ๙ ว่าด้วยเรื่อง “มีวินัย” ไว้ว่า  “ดาบคมที่ไร้ฝัก ลูกระเบิดที่ไม่มีสลักนิรภัย  ย่อมเกิดโทษแก่เจ้าของได้ง่ายฉันใด  “ความรู้” และ “ความสามารถ” ถ้าไม่มีวินัยกำกับแล้ว   ก็จะมีโทษแก่ผู้เป็นเจ้าของได้ฉันนั้น  ช่างดาบทำฝักดาบไว้กันอันตราย  ช่างทำระเบิดก็ทำสลักนิรภัยไว้เช่นกัน  เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนพุทธศาสนิกชนให้เป็นคนฉลาดรู้ฉลาดทำแล้ว  จึงทรงสั่งสำทับด้วยว่า “ต้องมีวินัย”

วินัย หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ สำหรับควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา ของคนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม  เป็นแบบแผน อันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้อยู่ร่วมกันด้วยความสุขสบาย ไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน  วินัยช่วยให้คนในสังคมห่างไกลจากความชั่วทั้งหลาย
            การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เหล่า ถ้าขาดระเบียบวินัย ต่างคนต่างทำตามอำเภอใจ ความขัดแย้งและลักลั่นก็จะเกิดขึ้น ยิ่งมากคนก็ยิ่งมากเรื่อง ไม่มีความสงบสุข  การงานที่ทำก็จะเสียผล

            ดอกไม้จำนวนมากที่วางรวมกัน หากวางอยู่ระเกะระกะกระจัดกระจาย ก็จะด้อยค่าลง  ทั้งยังทำให้รกรุงรังอีกด้วย   แต่เมื่อเรานำดอกไม้เหล่านี้มาร้อยรวมเข้าด้วยกันด้วยเส้นด้าย ดอกไม้เหล่านี้ก็จะกลายเป็นพวงมาลัยอันงดงาม   เหมาะที่จะนำไปประดับตกแต่งให้เจริญตาเจริญใจ   ถ้าประชาชนแต่ละคนเป็นเสมือนดอกไม้แต่ละดอก   เส้นด้ายที่ใช้ร้อยดอกไม้ให้รวมกันอยู่อย่างมีระเบียบงดงามนั้นก็เปรียบเสมือนวินัย        

วินัยจึงเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมคนให้คนเราใช้ความรู้ความสามารถไปในทางที่ถูกที่ควร  คือทำคนให้เป็นคน “ฉลาดใช้”นั่นเอง
การสร้างวินัย ควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กเล็ก ซึ่งเป็นวัยที่กำลังสร้างลักษณะนิสัยและต่อเนื่องถึงเด็กวัยเรียนซึ่งจะมี กระบวนการเรียนรู้ คิดอย่างมีเหตุผลมากขึ้น เด็กจะเลือกทำกิจกรรมอย่างที่สนใจและลงมือทำด้วยตนเอง ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาความจำและการแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผล

    การฝึกวินัยทำให้เด็กเกิดนิสัยในการควบคุมตนเอง อันจะช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น ในสังคมได้ โดยไม่ล่วงเกินสิทธิหรือประพฤติผิดมารยาทของสังคม การฝึกวินัยให้เด็กจำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ค่อยเป็นค่อยไปโดยมีการยืดหยุ่นได้ตามสภาพของเด็ก และควรให้เด็กเข้าใจถึงเหตุผลของกฎระเบียบนั้น ๆ ควรหลีกเลี่ยงการข่มขู่ แต่ควรสนับสนุนให้กำลังใจยกย่องชมเชยเมื่อมีโอกาส

              เด็กดีและเก่งอย่างเดียว อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีพอสำหรับสังคมเราอีกต่อไป เพราะคุณภาพของอนาคตของชาตินั้น อยู่ที่การอยู่ในสังคมได้โดยไม่เบียดเบียนหรือสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น การปูพื้นฐานการมีวินัยตั้งแต่ยังเด็ก ช่วยให้สังคมเราดีขึ้นได้ค่ะ วินัย คำคำนี้สอนให้เด็กๆ รู้จักการแสดงออกอย่างเหมาะสม ไม่มากไปไม่น้อยไป สอนให้รู้จักสิทธิของตัวเองและผู้อื่น สอนให้รู้จักหน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมายและสอนให้รู้จักควบคุมตัวเอง รวมๆ แล้ววินัยก็คือ การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันนั่นเอง

เราคนไทยใช่จะไร้ในระเบียบ ไม่เอาเปรียบผู้อื่นไม่ฉ้อฉล
มีวินัยวัฒนธรรมค้ำชุมชน โดยทุกคนร่วมมือกันสรรสร้างไทย
มีวินัยในตนฝึกฝนเถิด ช่างประเสริฐพัฒนาพาแก้ไข
ต้องเคารพตามกฎที่ตั้งไว้ ต้องร่วมใจสร้างวินัยตนให้เป็น

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

นิรโทษกรรม กรรมของชาติ

"นิรโทษกรรม"กรรมของชาติ วิปลาสอธิปไตยอับสิ้นแสง ประชาธิปไตยไร้สำแดง กลายเป็นแหล่งอาธรรม์มิคสัญญี 

ปิดหูปิดตาประชาชน ปิดปากทุกคนทุกวิถี ปิดใจปิดกั้นคนคิดดี ปิดคดีปล่อยเปรตเข้าสภา

ความโปร่งใสเปรียบเหมือนกระจกมัว คุกรุ่นทั่วแผ่นดินร้อนเป็นหนักหนา เมื่อใดหนอประชาไทยในใต้หล้า จะกลับมาร่มเย็นเป็นสุขเอย