ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติม...ที่นี่

Custom Search

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2551

รำพึงในป่าช้า



ฟังหัวข้อเรื่องกันแล้ว ท่านอาจจะคิดว่าข้าพเจ้าคงจะมาเล่าเรื่องผีๆสางๆเป็นแน่ แต่เปล่าเลย เรื่องนี้อย่าว่าแต่ผีเลย แม้แต่ความวังเวงยังไม่มีเสียด้วยซ้ำ ผู้แต่งเรื่องนี้คือ “โทมัส เกรย์” ชาวอังกฤษ ซึ่งได้แต่งกวีนิพนธ์ชื่อว่า “Elegy Written in a Country Churchyard” เพราะโดยธรรมเนียมของฝรั่งนั้นนิยมไปพักผ่อนหรือปิกนิกกันในป่าช้า บางคนคิดว่า “บ้าหรือเปล่า...คนที่ไหนนึกอยากจะไปกินข้าวแล้วเที่ยวเล่นกันในป่าช้า” หากแต่ป่าช้าฝรั่งนั้นนิยมจัดตกแต่งไว้อย่างสวยงาม หลุมฝังศพนั้นนิยมออกแบบอย่างสวยงาม บ้างก็ประดับด้วยหินอ่อน ออกแบบตามอย่างสมัยต่างๆ เช่น แบบโรมัน แบบเรเนอร์ซองค์ ฯลฯ หาได้น่ากลัวเหมือนป่าช้าของไทยไม่ จากหนังสือเล่มนั้นพระยาอุปกิตศิลปสารได้ไปอ่านเข้าแล้วชอบใจ จึงได้แปลความจากร้อยแก้วมาเป็นกลอนดอกสร้อยโดยท่านได้ระบุว่า “จากภาษาอังกฤษซึ่งท่านเสถียรโกเศศแปลให้ ข้าพเจ้าได้แต่งดัดแปลงให้เข้ากับธรรมเนียมไทยบ้าง”
กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้านั้นมีจำนวนทั้งสิ้น ๓๓ บท โดยสามบทสุดท้ายนั้นเป็นคำจารึกบนหลุมฝังศพ เนื้อหาโดยย่อคือ ผู้ต้องการความวิเวกคนหนึ่งได้เข้าไปนั่งในวัดที่เงียบสงบในชนบท ณ ยามสายัณห์ ครั้นได้ยินเสียงระฆังย่ำบอกเวลาได้แลเห็นชาวนาพาฝูงวัวควายกลับบ้าน เมื่อตะวันลับขอบฟ้าได้ยินแต่เสียงหรีดหริ่งเรไร และเสียงเกราะในคอกสัตว์ ณ บริเวณโคนต้นไม้ใหญ่มีหลุมฝังศพต่างๆอยู่มากมาย ท่านผู้นั้นจึงรำพันว่า แม้ผู้ดีมีจน นายหรือไพร่ ต่างก็มีจุดจบคือ ความตายเหมือนกัน ตัวอย่างกลอนดอกสร้อยชุดนี้ที่ข้าพเจ้าประทับใจ เช่น
“แต่เอ๋ยแต่นี้
เป็นหมดที่ใฝ่จิตริษยา
เป็นหมดที่อุปถัมภ์คิดนำพา
เป็นนับว่า “อโหสิกรรม”กัน
เขาจะมีดีชั่วติดตัวไป
เป็นวิสัยกรรมแต่งและแสร้งสรร
เรารู้ได้แต่ปวัตน์ปัจจุบัน
ซึ่งทิ้งอยู่คู่กันกับนามเอย.
บรรยายภาพด้านบนครับ เป็นงานศพของปู่ผมเองครับ คืนวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ท่านยังดูหนังเจมส์ บอนด์ คาสิโน โรแยลดีๆอยู่เลย แต่พอเช้าวันรุ่งขึ้นท่านก็จากเราไปอย่างไม่มีวันกลับแล้วครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น