วิธีการซักรีดเสื้อผ้านี้ได้มาจากโฆษณาร้านซักรีดเสื้อผ้า “ตุงฮับ”จากหนังสือพิมพ์ “บางกอกไตม์” วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๔ สรุปความโดยย่อว่าคนไทยสมัยก่อนนั้นมีขั้นตอนในการทำความสะอาดเสื้อผ้าดังนี้
วิธีการซักนั้นใช้น้ำด่างหรือน้ำสบู่ก็ได้ หรืออาจจะใช้น้ำโซดา(แต่จะทำให้ผ้าเปื่อยเร็ว)หมักเอาไว้ในอ่างหนึ่งวันหนึ่งคืน
เวลาเช้าก็เอาออกมาถูสบู่ให้ทั่วทั้งชิ้น จากนั้นเอาใส่เข่งไปที่คลองหรือที่มีน้ำมากๆช่วยกันฟาดให้หมดเหงื่อหมดไคล พอเห็นว่าขาวดีก็เอาขึ้นผึ่งแดดให้แห้ง แล้วเก็บไว้ทีหนึ่ง
รุ่งเช้าอีกวันเอาเสื้อผ้าทั้งหมดไปลงซักน้ำผึ่งแดดอีกคราวหนึ่ง พอเห็นขาวก็เอาไปนึ่งเหมือนนึ่งขนม พอจะนึ่งก็เอาเสื้อผ้าที่ซักไว้ชุบน้ำเปียกๆแล้ววางซ้อนในลังถึง เอาผ้าอะไรปิดปากลังถึงไปจนเห็นว่าเหงื่อไคลในเนื้อผ้าตกลงไปในก้นกระทะดีแล้วก็รื้อจากลังถึงไปซักน้ำอีกคราวหนึ่ง แล้วเอาขึ้นผึ่งแดดไว้ ต้องตากบริเวณลานดินที่สะอาดๆจะได้ถูกกระอายดิน กับให้มีคนพรมน้ำอยู่คนหนึ่ง เห็นว่าเสื้อแห้งก็ให้เอาน้ำพรมร่ำไปจนกว่าแดดจะหมดจึงเก็บ
อนึ่งจะต้มผ้าแทนนึ่งผ้าก็ได้ แต่การต้มนั้นหากน้ำแห้งก็จะทำให้ผ้าดำ น้ำดำๆที่ออกจากเสื้อก็อาจกลับย้อนไปติดผ้าอีก
คราวนี้มาถึงวิธีการรีดผ้าแบบโบราณบ้างนะครับ เริ่มจากเมื่อจะรีด เวลาเย็นเอาไปซักน้ำเปล่าๆบิดให้แห้ง เก็บไว้ไม่ต้องตาก พอดึกสามยามเศษ เอาเสื้อลงชุบน้ำแป้ง ใช้แต่แป้งข้าวเจ้าหรือแป้งสาคูลานเท่านั้น แป้งข้าวเหนียวใช้ไม่ได้ พอรีดเสร็จแล้วเก็บไว้สองสามวัน เสื้อก็อ่อนไปหมด แป้งชุบเสื้อต้องโม่เสียให้ละเอียด แล้วจึงเปียกให้สุก สุกดีแล้วเอาครามจีนละลายกับน้ำใส่ลงไปพอสมควร
แล้วเอาผ้าที่จะรีดชุบลงไปให้ทั่วเสร็จแล้วบิดให้สะเด็ดน้ำ เอาผ้าพาดผึ่งไว้บนราว ตากให้แห้งดีจึงจะเอาไปเก็บได้ ถ้าตากไม่แห้ง เมื่อเก็บไว้เสื้อจะบูดเหม็นเปรี้ยว ต้องเอามาซักน้ำแล้วชุบน้ำแป้งใหม่
หลังจากได้เสื้อผ้าที่ชุบแป้งตากแห้งเรียบร้อยแล้วจึงรีด เวลารีดเอาน้ำพ่นผ้าให้ทั่ว รีดไปทีละตัวๆบนที่รีดซึ่งทำเป็นเบาะ มีการเอาเทียนไขถูเสียก่อนด้วยเพื่อจะทำให้เสื้อเป็นมัน พอรีดเสร็จก็เอาพับวางไว้
อ่านมาถึงตอนนี้แล้วเหนื่อยกว่าการรีดผ้าสมัยนี้เกือบสองสามเท่าตัวเลยนะครับ ยังมีการซักรีดผ้าของชาววังอีกนะครับ แปลกกว่านี้อีกมากเลย ไว้ค่อยมานำเสนอในคราวต่อไป
วิธีการซักนั้นใช้น้ำด่างหรือน้ำสบู่ก็ได้ หรืออาจจะใช้น้ำโซดา(แต่จะทำให้ผ้าเปื่อยเร็ว)หมักเอาไว้ในอ่างหนึ่งวันหนึ่งคืน
เวลาเช้าก็เอาออกมาถูสบู่ให้ทั่วทั้งชิ้น จากนั้นเอาใส่เข่งไปที่คลองหรือที่มีน้ำมากๆช่วยกันฟาดให้หมดเหงื่อหมดไคล พอเห็นว่าขาวดีก็เอาขึ้นผึ่งแดดให้แห้ง แล้วเก็บไว้ทีหนึ่ง
รุ่งเช้าอีกวันเอาเสื้อผ้าทั้งหมดไปลงซักน้ำผึ่งแดดอีกคราวหนึ่ง พอเห็นขาวก็เอาไปนึ่งเหมือนนึ่งขนม พอจะนึ่งก็เอาเสื้อผ้าที่ซักไว้ชุบน้ำเปียกๆแล้ววางซ้อนในลังถึง เอาผ้าอะไรปิดปากลังถึงไปจนเห็นว่าเหงื่อไคลในเนื้อผ้าตกลงไปในก้นกระทะดีแล้วก็รื้อจากลังถึงไปซักน้ำอีกคราวหนึ่ง แล้วเอาขึ้นผึ่งแดดไว้ ต้องตากบริเวณลานดินที่สะอาดๆจะได้ถูกกระอายดิน กับให้มีคนพรมน้ำอยู่คนหนึ่ง เห็นว่าเสื้อแห้งก็ให้เอาน้ำพรมร่ำไปจนกว่าแดดจะหมดจึงเก็บ
อนึ่งจะต้มผ้าแทนนึ่งผ้าก็ได้ แต่การต้มนั้นหากน้ำแห้งก็จะทำให้ผ้าดำ น้ำดำๆที่ออกจากเสื้อก็อาจกลับย้อนไปติดผ้าอีก
คราวนี้มาถึงวิธีการรีดผ้าแบบโบราณบ้างนะครับ เริ่มจากเมื่อจะรีด เวลาเย็นเอาไปซักน้ำเปล่าๆบิดให้แห้ง เก็บไว้ไม่ต้องตาก พอดึกสามยามเศษ เอาเสื้อลงชุบน้ำแป้ง ใช้แต่แป้งข้าวเจ้าหรือแป้งสาคูลานเท่านั้น แป้งข้าวเหนียวใช้ไม่ได้ พอรีดเสร็จแล้วเก็บไว้สองสามวัน เสื้อก็อ่อนไปหมด แป้งชุบเสื้อต้องโม่เสียให้ละเอียด แล้วจึงเปียกให้สุก สุกดีแล้วเอาครามจีนละลายกับน้ำใส่ลงไปพอสมควร
แล้วเอาผ้าที่จะรีดชุบลงไปให้ทั่วเสร็จแล้วบิดให้สะเด็ดน้ำ เอาผ้าพาดผึ่งไว้บนราว ตากให้แห้งดีจึงจะเอาไปเก็บได้ ถ้าตากไม่แห้ง เมื่อเก็บไว้เสื้อจะบูดเหม็นเปรี้ยว ต้องเอามาซักน้ำแล้วชุบน้ำแป้งใหม่
หลังจากได้เสื้อผ้าที่ชุบแป้งตากแห้งเรียบร้อยแล้วจึงรีด เวลารีดเอาน้ำพ่นผ้าให้ทั่ว รีดไปทีละตัวๆบนที่รีดซึ่งทำเป็นเบาะ มีการเอาเทียนไขถูเสียก่อนด้วยเพื่อจะทำให้เสื้อเป็นมัน พอรีดเสร็จก็เอาพับวางไว้
อ่านมาถึงตอนนี้แล้วเหนื่อยกว่าการรีดผ้าสมัยนี้เกือบสองสามเท่าตัวเลยนะครับ ยังมีการซักรีดผ้าของชาววังอีกนะครับ แปลกกว่านี้อีกมากเลย ไว้ค่อยมานำเสนอในคราวต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น