ในปัจจุบันนี้หากพูดถึงมาตราตัวสะกดแล้วก็จะมีแม่ ก.กา แม่กง แม่กน แม่กม แม่เกย แม่เกอว แม่กก แม่กด แม่กบ ใช่ไหมครับ แต่ท่านเชื่อหรือไม่ว่าตำราภาษาไทยสมัยโบราณนั้นจะไม่มีแม่เกอวครับ ลองอ่านข้อความตอนหนึ่งจากหนังสือ “นิติสารสาธก” ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)ความว่า
“เปน กน กง กก กด กบ กม เรียง
ที่สุดเพียงแม่เกยเปรยพิปราย
...........................ฯลฯ........................
ต่อบรรจบแม่กมตัวมอหนอ
แม่เกยนั้นรวมทั้ง ย ว อ”
จากนั้นในตอนท้ายของบทกลอนพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)ได้ให้คำอธิบายเพิ่มเติมไว้อีก
ว่า
“ขอแจ้งความให้ท่านทั้งหลายทราบ เมื่อข้าฯคิดแบบมูลบทบรรพกิจนั้น ข้าฯคิดเห็นว่า เกย ยอ เกย วอ มีคำใช้ในสยามพากย์น้อยนัก จึ่งมิได้จัดลงไว้ในแบบสอน บัดนี้มีนักปราชญ์ทักท้วงว่ายังบกพร่องอยู่ เพราะฉะนั้นข้าฯจะขอเพิ่มแบบ เกย ยอ เกย วอ ลงไว้ในท้ายนิติสารสาธกเล่มหนึ่งนี้ เพื่อจะได้ครบแบบเกยเต็มที่ แลแบบเกย ยอ เกย วอ นั้นคือดังนี้.............................................” บอกให้ทราบอีกนิดหนึ่งว่าคำที่ใช้สระเอียและสระเอือโดยไม่มีตัวสะกดก็จัดอยู่ในแม่เกยเช่นกัน ผมก็ไม่ทราบหรอกว่าแม่เกอวนี้เริ่มมีการกำหนดเมื่อไรแต่ว่าก่อนรัชกาลที่ ๗ นั้นยังไม่มีแม่เกอวเกิดขึ้นแน่นอน แม้แต่ในหนังสือ “หลักภาษาไทย” ของพระยาอุปกิตศิลปสาร
ชอบมากเลยค่ะ
ตอบลบความรู้ ใหม่ ๆ มากมาย เลย
ขอบคุณมากนะคะ
ชอบค่ะ
ตอบลบขอบคุณนะคะ