ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติม...ที่นี่

Custom Search

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551

รายชื่อบุตร-ธิดาพระยาเสนานุชิต (นุช ณ นคร)เจ้าเมืองตะกั่วป่า



เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ หลังจากที่เดินตระเวนถ่ายภาพประกอบการเขียนคอลัมน์เรื่อง “ตลาดนัดวันอาทิตย์ จังหวัดสงขลา”แล้วได้แวะไปที่ศูนย์หนังสืออาชีวศึกษา สงขลา ก็รี่เข้าไปที่มุมประจำของตนเองคือ หนังสือประวัติศาสตร์ ก็ให้เป็นอันต้องหยิบหนังสือ “พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)” ฉบับพิมพ์ใหม่ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ยังมีเอกสาร หลักฐานร่วมสมัยธนบุรีแทรกอยู่ด้วย หนึ่งในนั้นคือ “ลำดับสกุลเก่า บางสกุล ภาค ๔ สกุลเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี” จัดทำโดยนายเถา ศรีชลาลัย เมื่อวันที่ ๕ กรกฏาคม พ.ศ.๒๔๘๐ ซึ่งได้นำมาตีพิมพ์เผยแพร่โดยโรงพิมพ์พระจันทร์ ในปีเดียวกันนั่นเอง สำหรับการรวบรวมในครั้งนี้เป็นไปด้วยความประสงค์ของหลวงวิจิตรวาทการ ท่านเล็งเห็นว่านายเถานั้นมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาก และก็ไม่ผิดหวังจริงๆ

เนื้อหาภายในคล้ายกับ Family Tree ของฝรั่ง ถ้าให้เรียกอย่างไทยคือ “พงศาวลี” นั่นเอง โดยจำนวนสมาชิกในพระราชวงศ์ธนบุรีนั้นเมื่อนับจากชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๘ สิ้นสุดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ นั้นมีจำนวนสมาชิกในพระราชวงศ์ถึง ๑๑๙๕ คน เป็นหญิง ๕๕๙ คน เป็นชาย ๖๓๖ คน

สกุลสายตรงมีด้วยกันทั้งสิ้น ๘ ราชสกุลคือ

๑. สินสุข วงศ์สมเด็จพระยามหาอุปราช

๒.อินทรโยธิน วงศ์สมเด็จพระมหาอุปราช

๓.พงษ์สิน วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์

๔.ศิลานนท์ วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายศิลา

๕.รุ่งไพโรจน์ วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร

๖.โกมารกุล ณ นคร วงศ์เจ้าพระยานครน้อย

๗. ณ นคร วงศ์เจ้าพระยานครน้อย

๘.จาตุรงคกุล วงศ์เจ้าพระยานครน้อย

และวงศ์เจ้าพระยานครน้อย ชั้นที่ ๔ นั้นได้ปรากฏหลักฐานรายชื่อบุตร –ธิดาพระยาเสนานุชิต (นุช) ดังต่อไปนี้

๑. ญ.ปริกเป็นภรรยาพระยาอภัยสงคราม

๒.ช.เอี่ยม เป็นพระยาเสนานุชิต ผู้รักษาเมืองตะกั่วป่า

๓.ช.ดิษฐ์ เป็นพระสมบัตยานุรักษ์ จางวางคลังเมืองตะกั่วป่า

๔.ญ.เจิม

๕.ช.สิงห์ เป็นพระเรืองฤทธิรักษาราษฎร์

๖.ญ.สำริด

๗.ช.กลิ่น เป็นพระอิศราธิไชยเสนีวงศ์ธรรมราช ผู้รักษาเมืองกระบี่

๘.ญ.นุ่ม

๙.ญ.อำพา

๑๐.ช.หงส์ เป็นพระสมบัตยานุรักษ์ จางวางคลังเมืองตะกั่วป่า

๑๑. ญ.เขียน เป็นเจ้าจอม สมัยรัชกาลที่ ๔

๑๒.ญ.เปีย

๑๓.ญ.ปีด

๑๔.ช.กลั่น เป็นพระพลพยุหสงคราม ผู้รักษาเมืองกระบี่

๑๕.ช.สงวน เป็นพระสุนทรภักดี ผู้ช่วยราชการเมืองตะกั่วป่า

๑๖.ช.อ่ำ

๑๗.ญ.ทับทิม เป็นเจ้าจอม สมัยรัชกาลที่ ๔

๑๘.ช.ขาว เป็นพระเสนาวงศ์ภักดีศรีธรรมราช ผู้รักษาเมืองคีรีรัฐนิคม

๑๙.ช.กล่อม เป็นพระบริสุทธิโลหภูมินทราธิบดี ผู้รักษาเมืองตะกั่วป่า

๒๐.ช.สิทธิ์ เป็นพระนรเทพภักดี ยกกระบัตรเมืองตะกั่วป่า

๒๑.ช.ครุฑ เป็นมหาดเล็ก

๒๒.ญ.หุ่น

๒๓.ญ.พัน

๒๔.ญ.มาลัย

๒๕.ช.ชื่น เป็นพระอินทรศักดิ์เสนานุวงศ์บริรักษ์ ผู้ช่วยราชการเมืองตะกั่วป่า

๒๖.ญ.ขลิบ

๒๗.ช.ท้วม เป็นพระสุนทรวรนาถราชภักดี ผู้ช่วยราชการเมืองตะกั่วป่า

๒๘.ญ.เกต

๒๙.ญ.ไม้จีน

๓๐.ญ.ศิลา

๓๑.ช.พะยอม

๓๒.ช.เผือก

๓๓.ช.พิน

๓๔.ช.ดำ เป็นหลวงสัจจาบริรักษ์ ผู้ช่วยราชการเมืองตะกั่วทุ่ง

๓๕.ช.ตะเวียด

๓๖.ช.บุศย์ เป็นมหาดเล็ก

๓๗.ญ.คล้าย

๓๘.ช.สุทธิ์ เป็นหลวงเพ็ชรคีรีศรีพิชัยสงคราม

๓๙.ช.พัน เป็นพระเรืองฤทธิ์รักษาราษฎร์ ผู้ช่วยราชการเมืองตะกั่วป่า

๔๐.ญ.นวล เป็นเจ้าจอม สมัยรัชกาลที่ ๕

๔๑.ช.จันทร์ เป็นพระเรืองฤทธิ์รักษาราษฎร์ ผู้ช่วยราชการเมืองตะกั่วป่า

๔๒.ญ.บัว

๔๓.ญ.เชย

๔๔.ญ.เอียด

๔๕.ช.ต้ม

๔๖.ช.กลับ

๔๗.ช.เนียม เป็นมหาดเล็ก

๔๘.ญ.งิ้ว

๔๙.ญ.เสงี่ยม เป็นหม่อมห้าม ในกรมขุนศิริธัชสังกาศ

๕๐.ญ.ช้อย

๕๑.ญ.เพิง

๕๒.ช.ปลอด

๕๓.ช.ม่วง

๕๔.ช.พลอย เป็นพระยาคงคาธราธิบดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลสุราษฎร์

๕๕.ช.ชม

๕๖.ช.ช่วง

๕๗.ช.วร เป็นพระวรคีรีรักษ์ นายอำเภอมณฑลภูเก็ต

๕๘.ญ.กุหลาบ

นับว่าเป็นข้อมูลซึ่งมีอยู่แต่ไม่มีใครได้เผยแพร่และเมื่ออ่านดูต่อในสายสกุลชั้นที่ ๕-๘ ยังปรากฏรายชื่อบุคคลอันเกี่ยวข้องกับเมืองพังงา เมืองตะกั่วป่าและเมืองตะกั่วทุ่งอีกหลายท่านซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการเรียนรู้และสืบค้นประวัติศาสตร์ประจำเมืองตะกั่วป่ายิ่งนัก หากท่านผู้ใดสนใจจะศึกษาข้อมูลโดยละเอียดก็ลองไปค้นหาหนังสือดังที่ผมได้กล่าวไปแล้วข้างต้นนะครับ




1 ความคิดเห็น:

  1. มาอ่านประวัติตระกูล
    พระยาเสนานุชิต->พระเรืองฤทธิ์รักษาราช จันทร์->ทวดแฉ่ง->ปู่ชลอ(ไข่)->พ่อ->ผม

    ตอบลบ