ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติม...ที่นี่

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญาไทยถิ่นใต้ : ยาคำอรรถ



ยาคำอรรถ กล่าวคือ ยาขนานหนึ่งจะมีตัวยาหลายชนิด ผู้แก้จะต้องแก้ ๑ คำอรรถเป็นตัวยา ๑ ชนิด เช่น ยาคำอรรถแก้โรคลมขึ้นเบื้องบน มีว่า

“ไฟใต้ดิน กินพุงทะลาย ซ้ำผีตาย หน่ายสงสาร เอาเสมอภาคทำผง แล้วละลายกับน้ำนมสาวพรหมจารี รักษาโรคนี้ดีนักแล”

แก้ได้ว่า “ไฟใต้ดิน กินพุงทะลาย คือ เจตมูลเพลิง , ซ้ำผีตาย หมายถึง ผักเสี้ยนผี , หน่ายสงสาร หมายถึง หัวไพล , เอาเสมอภาคทำผง หมายถึง เอาจำนวนเท่าๆกันทำเป็นผง , ละลายน้ำนมสาวพรหมจารี หมายถึง ละลายด้วยน้ำผสมน้ำมะนาว

ชื่อพืชสมุนไพรที่เป็นคำอรรถเพื่อให้ศิษย์เกิดความพยายามที่จะศึกษาต่ออย่างจริงจังจึงจะเกิดความรู้แตกฉาน ทั้งเป็นการสงวนอาชีพให้คนทั่วไปเป็นหมอสมุนไพรโดยง่ายดาย เช่น กำแพงเจ็ดชั้น (ไม้หลุมนก),ท้าวพันราก (กระเพาะเม่น),สรรพดอก(น้ำผึ้งรวง),ตรึงบาดาล (หญ้าคา) , พระยาตายหน้าเมือง (ผักเสี้ยนผี),หักถอกฤๅษี(ขมิ้นอ้อย)บางครั้งเรียก องคชาตเจ้าเณร,ขนหมอยยายชี(รากกระเทียม),ขี้หีแม่ยาย (มหาหิงสุ์),ผักมาแต่หนอง (ผักเป็ด),สุนัขขยาด(ไม้ค้อนตีหมา),ฯลฯ

ก็นับว่าเป็นภูมิปัญญาไทยถิ่นใต้ที่น่าศึกษาและสะท้อนลักษณะนิสัยของคนไทยถิ่นใต้ซึ่งน่าค้นคว้าเพื่อสืบสานภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น