ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติม...ที่นี่

Custom Search

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับประเพณีกินเจเมืองตะกั่วป่า



พิธีกรรมกินผัก ตอนป้างเอี๋ย



อดีตกาลนานมาแล้ว บ้านเมืองยังไม่เจริญ ถนนหนทางไปมาไม่สะดวก ปฏิทินยังไม่มี การจะส่งข่าวก็ลำบาก ฉะนั้นก่อนกินผัก 15 วันในเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำตามปฏิทินจีน ทางศาลเจ้าจึงได้ทำพิธีกรรมปล่อยทหารเรียกว่า “ป้างเอี๋ยกุน” ทั้ง 5 กองทัพ คือ



กองทัพที่ 1ตะวันออก “ตั่งเอี๋ย” มี “เอี่ยวเจี้ยน” เป็นแม่ทัพ ธงสีเขียว บ็อก 9.9.9



กองทัพที่ 2ตะวันตก “ใส้เอี๋ย” ธงสีขาว มี “บุ๋นเกียด”เป็นแม่ทัพ กิ้ม 6.6.6



กองทัพที่ 3ใต้“ล่ามเอี๋ย” มี “อ๋อเองซุน” เป็นแม่ทัพ ธงสีแดง โห้ย 8.8.8



กองทัพที่ 4เหนือ “ปั๊กเอี๋ย” ธงสีดำ มี “ลุ่ยจิ้นจู” เป็นแม่ทัพ จุ้ย 5.5.5



กองทัพที่ 5กลาง “จ้งเอี๋ย” มี “ต่งตั๋นหวั่นโซ่ย”เป็นแม่ทัพ ธงสีเหลือง ท้อ 3.3.3




ศาลเจ้าจึงได้ทำพิธีปล่อยทหารทั้ง 5 กองทัพเพื่อจะได้เตือนหรือแสดงอภินิหารต่างๆให้พวกฉ่ายอิ้วได้รับรู้ว่าจะถึงเวลากินผัก “เจียะฉ่าย”แล้ว ขอให้เตรียมตัวกลับมาตะกั่วป่า เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าสมัยก่อนนั้นศิษย์ (ฉ่ายอิ้ว)ของเจ้าพ่อกวนอู ต่างคนต่างไปทำมาหากินในที่ต่างๆ เช่น ไปทำเหมืองแร่ตามภูเขาบ้าง ตามแม่น้ำลำคลองบ้าง บางคนก็ลงทะเลไปตามเกาะต่างๆซึ่งห่างไกลไปจากตลาดมาก เลยไม่รู้ว่าวันเดือนปีกัน ทางศาลเจ้าจึงได้ทำพิธีปล่อยทหาร (ป้างเอี๋ยเป้ง)ไปทำกริยาให้เกิดเหตุต่างๆขึ้น เช่น พวกฉ่ายอิ้วนอนตอนกลางคืนไปทำการกระตุกเท้าบ้าง เข้าฝันบ้าง หรือกระทำให้มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นแก่พวกฉ่ายอิ ้ว พวกบรรดาลูกศิษย์ของเจ้าพ่อกวนอูจะได้รู้ตัวโดยปริยา ย จะได้เตรียมตัวกลับตะกั่วป่าเพื่อจะได้กินผัก (เจียะกิวอ่องฉ่าย) กันแล จึงได้จัดเป็นพิธีประเพณี (ป้างเอี๋ยเป้ง) ปล่อยทหารในเดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ “เปะโง้ยจับหง้อป้างเอี๋ย” ขึ้นมา

พิธีการโก้ยเฉ่งอิ๋ว และเฉ่งปั่วะ



“เฉ่งอิ๋ว” (หวักน้ำมัน) และ “เฉ้งปั่วะ” หรือที่เรียกว่า กระถางสำหรับจุดไม้จันทร์หอม มีที่มาดังนี้ หวักน้ำมันจุดไฟ หรือเฉ่งอิ๋วนั้นเป็นของที่ทำเพื่อเคลียร์พื้นที่ ทำความสะอาดและกำจัดสิ่งสกปรกของชั่วร้ายต่างๆให้ออก จากพื้นที่ไปให้หมดเสียก่อน เรียกว่า “โก้ยเฉ่งอิ๋ว” ต่อจากนั้นจึงใช้ “เฉ่งปั่วะ” กระถางไม้จันทร์หอมตามไป ตามพื้นที่ที่สะอาดแล้วจะได้มีกลิ่นหอมและปราศจากอัน ตรายต่างๆ



ก่อนจะถึงวันกินผัก 1วัน เดือน 8 ขึ้น 3 ค่ำ (แปกโง้ยช่าซ่า) ตามปฏิทินจีน จะทำพิธีขึ้นเสาก้อเต้ง ประมาณบ่ายโมงเย็นเป็นต้นไปจะเป็นเวลาฤกษ์งามยามดีไห นนั้นก็จะต้องเชิญพระมาประทับทรง (พ๋าย) เสียก่อนว่าเวลาไหนดี พอเสร็จจากพิธีขึ้นเสาก้อเต้งเรียบร้อยแล้วพระท่านก็ จะพ๋ายบอกเวลาให้ไปทำพิธีการล้างทำความสะอาดตามบ้านเ รือนของพวกฉ่ายอิ้วทั้งตลาดตะกั่วป่า พระท่านก็จะออกมาพร้อมพวกเฉ่งอิ๋วหวัดน้ำมันจุดไฟ ต่อจากนั้นเลยเวลาเที่ยงคืนไปขึ้นวันใหม่แล้ว พระจะพ๋ายบอกเวลาฤกษ์งามยามดีก๊จะให้บรรดาพวกฉ่ายอิ๋ วทุกๆคนออกเดินทางไปทำพิธีอิญเชิญ “กิ่วอ๋องไต่เต่” ที่สะพานแม่น้ำ เรียบร้อยแล้วก็อัญเชิญขึ้นประทับเก่วแห่ออกจาสะพานไ ปตามตลาดเพื่อกลับเข้าศาลเจ้าโรงพิธีเจียะฉ่าย เพราะกิ่วอ๋องไต่เต่เป็นเจ้าพิธีเจียะฉ่าย อัญเชิญท่านเข้าสถิตต่าวโบ้วเก้ง (พระราชวัง) เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนั้นก็จะทำพิธีอัญเชิญหยกอ๋องซ่งเต่ที่หน้าศาล เจ้าใกล้เสาก้อเต้ง อัญเชิญท่านมาเป็นประธานในพิธีกินผัก (เจียะกิวอ๋องฉ่าย)
ในพิธีการกินผักเจียะกิวอ๋องฉ่ายต่อไปครบ 3 วัน (เก้าโง๊ยเช่ซ่า) เดือน 9 ขึ้น 3 ค่ำ ตามปฏิทินจีน จะต้องทำพิธีโก่กุ๋นเป็นการทำบุญเลี้ยงพระและเทพเจ้า ตลอดจนพวกทหารเอี๋ยเป้งทั้งหลาย พอถึงเดือน 9 ขึ้น 6 ค่ำ (เก้าโง๊ยเช่ล้าก) ตามปฏิทินจีนก็จะทำพิธีอัญเชิญเทพเจ้าและกิ่วอ๋องไต่ เต่ออกแห่ไปทั่วตลาดตะกั่วป่า เรียบร้อยแล้วก็อัญเชิญพระท่านกลับศาลเจ้า จากนั้นก็จะทำพิธีโก่กุ๋นอีกครั้ง เพื่อเป็นการเลี้ยงพระและพวกทหารเอี๋ยป๋งเป็นการขอบค ุณ



พอถึงเดือน 9 ขึ้น 9 ค่ำ (เก้าโง๊ยเช่เก้า) ตามปฏิทินจีน ตอนกลางวันได้อัญเชิญพระและหยกอ๋องซ่งเต่ทรงประทับเก่วออกแห่ไปทั่วตลาดตะกั่วป่าเพื่อโปรดสัตว์และชาวตะก ั่วป่าเป็นวันสุดท้าย พอถึงเวลา 5 นาฬิกาวันใหม่ก็จะอัญเชิญกิ่วอ๋องไต่เต่ไปที่สะพานคลองใหญ่เพื่อจะได้ทำพิธีอัญเชิญกลับสู่สวรรค์ (อุ่ยเที๋ยนตั่ง) เป็นการเสร็จพิธีการกินผัก (เจียะกิ่วอ๋องฉ่าย) 9 วัน 9 คืน ของชาวตะกั่วป่า ในเดือน 9 ขึ้น 1 ค่ำ ถึง เดือน 9 ขึ้น 9 ค่ำตามปฏิทินจีนจึงถือว่าเป็นประเพณีสำคัญของชาวตะกั่วป่า เป็นมรดกตกทอดมานานนับศตวรรษ และเป็นที่ภูมิใจยิ่งของชาวตะกั่วป่า

พิธีการตีกลองและฆ้อง 36 ที 72 ที 108 ที



1. ตีกลองครั้งที่ 1 ในวันทักซ้อก่อนอัญเชิญโองการ (ซ้อ) กราบไหว้บูชาที่หน้าตั่วกิวอ๋องเรียบร้อยแล้ว พิธีกรก็จะตีฆ้องกลอง 36 ทีเป็นการถวายจู้อ่ามหรือเจ้าของศาลเจ้า (กวนเต่เอีย) ด้วยความเคารพ



2. ตีกลองฆ้องครั้งที่ 2 เมื่อพิธีกรอัญเชิญออกจากห้องกิวอ๋องเรียบร้อยแล้ว จึงตีกลองฆ้อง 72 ที เป็นการถวายความเคารพต่อพระและเทพเจ้าทุกพระองค์ที่อยู่ในศาลเจ้ากวนอูด้วยความเคารพ



3. ตีครั้งที่ 3 เมื่อพิธีกรอ่านทักซ่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะตีอีก 108 ที เป็นการถวายความเคารพต่อหยกอ๋องซ่งเต่ กิวอ๋องไต่เต่ พร้อมด้วยทวยเทพเทวาทุกๆพระองค์ที่สถิติอยู่บนสวรรค์ ชั้นวิมานด้วยกันทั้งหมดด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง



และนี่คือที่มาของการตีกิมก้อ และฆ้องในพิธีใหญ่ๆตี 36 ที ครั้งที่ 1 ตี 72 ที ครั้งที่ 2 ตี 108 ที ครั้งที่ 3 ดังนี้แล

สมัยก่อนนั้น การแห่พระนั้นได้ใช้ม้านั่งไว้สำหรับให้พระนั่งประทั บออกแห่ เรียกว่า “ถ้ายเป๋ย” เชิญเทพเจ้าต่างๆขึ้นประทับนั่งเพื่อออกแห่โปรดสัตว์ และชาวบ้านตลาดตะกั่วป่า ต่มมาได้สร้างศาลเจ้าพ่อกวนอูขึ้นใหม่ที่บ้านใหม่ สมัยแป๊ะหลี ตั้ง โอ้เป็นฮวดกั้ว (ผู้กระทำพิธีกรรมอัญเชิญเทพเจ้า) แกได้ดัดแปลงที่นั่งของพระใหม่ทำด้วยไม้หวายหลาสำหรับทำเป็นรูปเก่วขึ้น 2 หลัง ไว้อัญเชิญ “กิ่วอ๋องไต่เต่” และ “หยกอ๋องซ่งเต่” ขึ้นประทับเพื่อออกแห่ไปตามตลาด เพื่อโปรดสัตว์และประชาชนชาวตะกั่วป่าเป็นต้นมาจนถึง ปัจจุบันนี้เรียกว่า “เก่วเฒ่า”

ผู้เขียน และเรียบเรียงโดย คุณนิกร คันธวณิชพันธุ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น