ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติม...ที่นี่

Custom Search

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ธรรมเนียมการตั้งเครื่องพระกระยาเสวยของพระมหากษัตริย์

จากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ซึ่งเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)ได้เรียบเรียงขึ้นนั้นความตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเรื่อง “ออกพระราชกำหนดเกี่ยวกับเครื่องราชูปโภคและเครื่องเสวย” ไว้ว่า

“.............หนึ่งให้เจ้าพนักงานพระกระยาเสวยนั้น เมื่อหุงพระสุธาโภชน์แลแต่งเครื่องที่จะเสวยได้แลเสวยมิได้ ตามตำราห้ามทั้งเจ็ดวัน ในวันข้างขึ้นข้างแรมเสร็จแล้ว ให้ประทับตราประจำหม้อเครื่องแล้ว ส่งให้เจ้าพนักงานผู้ใดคด จึงให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดูตราประจำก่อน มิได้เห็นเป็นอันตรายประการใดแล้ว จึงให้คดเครื่องแล้วให้จดหมายเครื่องลงทุกประการ แล้วให้เจ้าพนักงานอันมีสติปัญญาซื่อสัตย์มั่นคง เทียบเครื่องตรวจตราดูทุกสิ่ง เห็นว่าไม่มีเหตุแล้ว จึงให้ประทับตราประจำเครื่องทั้งปวงส่งให้เจ้าพนักงานผู้เชิญเครื่องแล้ว ให้เจ้าพนักงานผู้ตั้งเครื่องถวายพิจารณาดูดวงตราเห็นว่าดีอยู่แล้ว จึงให้เปิดเครื่องออกตั้งถวาย เครื่องซึ่งจะเสวยได้นั้นให้จัดไว้ฝ่ายขวา เครื่องซึ่งต้องห้ามนั้นให้จัดไว้เบื้องซ้าย ครั้นเสวยแล้วเมื่อจะเชิญเครื่องกลับ ให้จดหมายไว้ว่าเวลานี้ เสวยสิ่งใดมากน้อยเท่าใด ให้เจ้าพนักงานเครื่องทั้งปวงเร่งทำตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้ จงทุกประการ ถ้าแลมิได้ทำตามพระราชกำหนดนี้ ขาดแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ก็เอาตัวเป็นโทษตามโทษานุโทษ......”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น