ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติม...ที่นี่

Custom Search

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เรื่องของ “อิสริยยศ”



อิสริยยศ คือ ยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาเจ้านาย ให้มีศักดิ์สูงขึ้น และชั้นสูงสุดของอิสริยยศสำหรับราชตระกูล คือ “พระมหาอุปราช” ซึ่งได้แก่ พระราชกุมารผู้ที่จะได้รับรัชทายาทสืบราชวงศ์ต่อไป

อิสริยยศสำหรับเจ้านาย รองจากพระมหาอุปราชลงมา ในชั้นแรกนั้นพระเจ้าแผ่นดินจะสถาปนาให้มีพระนามขึ้นต้นด้วยคำว่า “พระ” ซึ่งใช้เป็นพระราชประเพณีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนกระทั่งถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวอย่างเช่น พระรามคำแหง , พระราเมศวร , พระบรมราชา

ครั้นต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงได้เลิกราชประเพณีนั้นเสีย เปลี่ยนมาเป็นสถาปนาให้เป็นอิสริยยศคือ “เจ้าต่างกรม” โดยเมื่อจะทรงยกย่องเจ้านายพระองค์ใด ก็จะโปรดให้ตั้งกรมขึ้น และเรียกพระนามตามกรมนั้นๆ มีเรียงลำดับจากต่ำสุดไปสูงสุดดังนี้

กรมหมื่น ,กรมขุน,กรมหลวง,กรมพระ,กรมพระยา และสมเด็จกรมพระยา

ราชอิสริยยศชั้นรองจากเจ้าต่างกรมลงมา ก็คือ “พระองค์เจ้า” ซึ่งเรียกกันว่า “พระองค์เจ้าตั้ง” คือ ทรงสถาปนาหม่อมเจ้าขึ้นเป็นพระองค์เจ้าและอาจได้เลื่อนขึ้นเป็นกรมหมื่น ,กรมขุน,กรมหลวงเป็นที่สุด แต่โอรสธิดาของ “พระองค์เจ้าตั้ง”นี้คงเป็นหม่อมราชวงศ์อยู่ตามสกุลศักดิ์

อิสริยยศรองจากชั้น “พระองค์เจ้าตั้ง”ลงมาก็คือ “หม่อมราชนิกูล” เป็นชั้นที่สุด เช่น หม่อมราโชทัย , หม่อมเทวาธิราช เรื่องราวเกี่ยวกับยศเจ้านายโดยย่อก็มีเพียงเท่านี้

( สรุปใจความสำคัญจากหนังสือ “ประวัติศาสตร์ไทย ฉบับพัฒนาการ ม.ศ.๔”ของเสทื้อน ศุภโสภณ )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น