มูลบทบรรพกิจเป็นแบบเรียนหลวงที่ทันสมัยที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๕ และสามารถใช้อ้างอิงได้ในปัจจุบัน แบบเรียนชุดนี้เป็นผลงานการเรียบเรียงของตุลาการศาลภาษาไทย คือ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)ส่วนกาพย์พระไชยสุริยานั้นเป็นผลงานของสุนทรภู่ ที่แต่งในสมัยรัชกาลที่ ๓ สันนิษฐานว่าแต่งเป็นแนวสอนอ่านคำเทียบให้ศิษย์ของท่านเรียน
ครั้นต่อมาพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) คงเห็นว่ากาพย์พระไชยสุริยานั้นมีความไพเราะอ่านเข้าใจง่ายและเป็นคติจึงนำมาบรรจุไว้ในมูลบทบรรพกิจโดยแทรกไว้เป็นตอนๆตั้งแต่ ก.กาเรื่อยไปจนถึงแม่เกย แต่กระนั้นผู้คนก็ยังไม่ทราบหรอกว่ากาพย์พระไชยสุริยานั้นเป็นผลงานของสุนทรภู่ เพราะเห็นว่าแต่งแทรกในมูลบทบรรพกิจ จึงพาให้คิดว่า พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)เป็นผู้แต่ง จนนักวิชาการรุ่นหลังได้ศึกษาจึงทราบว่าสุนทรภู่เป็นผู้แต่ง
หากจะพูดว่าสุนทรภู่ชำนาญกลอนเป็นลำดับหนึ่ง กาพย์คงเป็นลำดับสอง และโคลงคงจะเป็นลำดับสามก็ว่าได้ วรรณคดีเรื่องนี้มีเสน่ห์ในการผูกโครงเรื่องแตกต่างจากวรรณคดีไทยทั่วไปในยุคนั้นคือ “เรียนวิชา ฆ่ายักษ์ ลักนาง” หากแต่มีเค้าโครงเรื่องไปคล้ายกับตำนานน้ำท่วมโลกและเรื่องของโนอาห์ในคัมภีร์ไบเบิ้ล ซึ่งสันนิษฐานว่าสุนทรภู่คงจะได้วิสาสะกับชาวต่างชาติและได้แนวเรื่องนี้มา
จากหนังสือ “การอ่านตีความ” ของอ.ทรงพันธ์ วรรณมาศ กล่าวว่า ภูมิหลังการแต่งกาพย์พระไชยสุริยานั้นเกิดจากเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ดังนี้
๑. ไทยเริ่มติดต่อกับอังกฤษ-อเมริกาทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
๒. ไทยมีการสงครามกับเขมร ลาว ญวน และรบกับญวนยืดเยื้อถึง ๑๕ ปีทำให้บ้านเมืองไม่ปกติสุข
๓. อั้งยี่ก่อกบถที่แปดริ้ว สมุทรสาคร ภูเก็ต
๔. น้ำท่วมใหญ่ พ.ศ.๒๓๗๔
๕. แผ่นดินไหว ดังความปรากฏในจดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติบันทึกไว้
๖. เกิดดาวหาง พ.ศ.๒๓๘๕
๗. โจรผู้ร้ายชุกชุม
๘. พระสงฆ์ประพฤติอนาจาร ๕๐๐ รูป แถมมีคณะปาราชิกหลายรูป
๙. มีคอรัปชั่นต้องประหารชีวิต รายที่ร้ายแรงที่สุดคือ กรมหลวงรักษ์รณเรศฉ้อราษฎร์บังหลวง ซ่องสุมผู้คนเพื่อหวังชิงราชสมบัติ อีกทั้งพระองค์ยังเป็นพวกรักร่วมเพศกับพวกละครในวัง ถูกถอดยศเป็นหม่อมไกรสร และสำเร็จโทษด้วยท่อนไม้จันทน์ (ถือว่าเป็นการประหารชีวิตด้วยท่อนไม้จันทน์ครั้งสุดท้าย)
กาพย์พระไชยสุริยามีคุณค่าสูงยิ่งนัก ทั้งยังเป็นกระจกเงาสะท้อนภาพในด้านมืดของรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (เหตุเพราะรัชกาลที่ ๓ ไม่โปรดสุนทรภู่ที่ทำให้พระองค์อับอายถึงสองครั้งสองครา) แต่กระนั้นอยากให้ท่านลองนำมาใช้เป็นแบบฝึกอ่านภาษาไทยดู เพราะคงเหมาะกับนักเรียนรุ่นเล็กเป็นแน่ ถ้าได้ผลดีก็ขอร่วมสาธุด้วยแล้วกันนะครับ
( สรุปความจาก “เสน่ห์ในกาพย์พระไชยสุริยา”ของกระผมที่ตีพิมพ์ในนิตยสารต่วยตูนเล่มเล็ก )
ครั้นต่อมาพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) คงเห็นว่ากาพย์พระไชยสุริยานั้นมีความไพเราะอ่านเข้าใจง่ายและเป็นคติจึงนำมาบรรจุไว้ในมูลบทบรรพกิจโดยแทรกไว้เป็นตอนๆตั้งแต่ ก.กาเรื่อยไปจนถึงแม่เกย แต่กระนั้นผู้คนก็ยังไม่ทราบหรอกว่ากาพย์พระไชยสุริยานั้นเป็นผลงานของสุนทรภู่ เพราะเห็นว่าแต่งแทรกในมูลบทบรรพกิจ จึงพาให้คิดว่า พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)เป็นผู้แต่ง จนนักวิชาการรุ่นหลังได้ศึกษาจึงทราบว่าสุนทรภู่เป็นผู้แต่ง
หากจะพูดว่าสุนทรภู่ชำนาญกลอนเป็นลำดับหนึ่ง กาพย์คงเป็นลำดับสอง และโคลงคงจะเป็นลำดับสามก็ว่าได้ วรรณคดีเรื่องนี้มีเสน่ห์ในการผูกโครงเรื่องแตกต่างจากวรรณคดีไทยทั่วไปในยุคนั้นคือ “เรียนวิชา ฆ่ายักษ์ ลักนาง” หากแต่มีเค้าโครงเรื่องไปคล้ายกับตำนานน้ำท่วมโลกและเรื่องของโนอาห์ในคัมภีร์ไบเบิ้ล ซึ่งสันนิษฐานว่าสุนทรภู่คงจะได้วิสาสะกับชาวต่างชาติและได้แนวเรื่องนี้มา
จากหนังสือ “การอ่านตีความ” ของอ.ทรงพันธ์ วรรณมาศ กล่าวว่า ภูมิหลังการแต่งกาพย์พระไชยสุริยานั้นเกิดจากเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ดังนี้
๑. ไทยเริ่มติดต่อกับอังกฤษ-อเมริกาทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
๒. ไทยมีการสงครามกับเขมร ลาว ญวน และรบกับญวนยืดเยื้อถึง ๑๕ ปีทำให้บ้านเมืองไม่ปกติสุข
๓. อั้งยี่ก่อกบถที่แปดริ้ว สมุทรสาคร ภูเก็ต
๔. น้ำท่วมใหญ่ พ.ศ.๒๓๗๔
๕. แผ่นดินไหว ดังความปรากฏในจดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติบันทึกไว้
๖. เกิดดาวหาง พ.ศ.๒๓๘๕
๗. โจรผู้ร้ายชุกชุม
๘. พระสงฆ์ประพฤติอนาจาร ๕๐๐ รูป แถมมีคณะปาราชิกหลายรูป
๙. มีคอรัปชั่นต้องประหารชีวิต รายที่ร้ายแรงที่สุดคือ กรมหลวงรักษ์รณเรศฉ้อราษฎร์บังหลวง ซ่องสุมผู้คนเพื่อหวังชิงราชสมบัติ อีกทั้งพระองค์ยังเป็นพวกรักร่วมเพศกับพวกละครในวัง ถูกถอดยศเป็นหม่อมไกรสร และสำเร็จโทษด้วยท่อนไม้จันทน์ (ถือว่าเป็นการประหารชีวิตด้วยท่อนไม้จันทน์ครั้งสุดท้าย)
กาพย์พระไชยสุริยามีคุณค่าสูงยิ่งนัก ทั้งยังเป็นกระจกเงาสะท้อนภาพในด้านมืดของรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (เหตุเพราะรัชกาลที่ ๓ ไม่โปรดสุนทรภู่ที่ทำให้พระองค์อับอายถึงสองครั้งสองครา) แต่กระนั้นอยากให้ท่านลองนำมาใช้เป็นแบบฝึกอ่านภาษาไทยดู เพราะคงเหมาะกับนักเรียนรุ่นเล็กเป็นแน่ ถ้าได้ผลดีก็ขอร่วมสาธุด้วยแล้วกันนะครับ
( สรุปความจาก “เสน่ห์ในกาพย์พระไชยสุริยา”ของกระผมที่ตีพิมพ์ในนิตยสารต่วยตูนเล่มเล็ก )
ได้ทั้งการบ้านได้ทั้งความรู้เพิ่มเติม
ตอบลบขอบคุณมากๆ ค่ะ (ส่งรายงานครูได้10เต็ม)
ตอบลบฉันดีใจนะที่เจองานดีๆๆอย่างคุณฉันชอบมากถ้าส่งโครงงานต้องได้เต็มเเน่ๆๆเลย
ตอบลบเยี่ยมคะควรอนุรักษ์ไว้กาพย์ไทย
ตอบลบ