ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติม...ที่นี่

Custom Search

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

พัฒนาการของอักษรไทย : การเปลี่ยนตำแหน่งสระ



เมื่อพ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีจารึกสำคัญซึ่งเป็นหลักฐานแสดงการเปลี่ยนแปลงตัวอักษรไทย คือ จารึกหลักที่ ๓ จารึกวัดศรีชุม สมัยพระยาลิไทย พ.ศ. ๑๙๐๐ ลักษณะตัวอักษรเริ่มมีความกลมมนมากกว่าตัวอักษรของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และที่สำคัญรูปสระได้เปลี่ยนตำแหน่งมาไว้หน้าตัวพยัญชนะบ้าง หลังตัวพยัญชนะบ้าง ข้างบนตัวพยัญชนะบ้าง ข้างล่างตัวพยัญชนะบ้าง ตัวสระ ใอ,ไอ,โอ สูงขึ้นไปเหนือบรรทัด รูปอักษรหันที่ใช้แทนสระอะ กับตัวสะกดนั้นได้เปลี่ยนมาเป็นรูปไม้หันอากาศกับตัวสะกดแทน ลักษณะนี้ปรากฏครั้งแรกในจารึกหลักที่ ๒ จารึกนครชุม ตัวสระที่พบเพิ่มขึ้นคือ ตัว ฤๅ และ ฦๅ การใช้เครื่องหมายไม้ยมกแทนคำซ้ำปรากฏครั้งแรกในจารึกหลักที่ ๔๔ จารึกบนลานเงินวัดส่องคบ พ.ศ.๑๙๑๖

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น