ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติม...ที่นี่

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

คุณสมบัติของครู ๒๕ ประการ จากหนังสือ “มิลินทปัญหา”


จากข่าวคราวในแวดวงการศึกษาและเหตุการณ์ปฏิรูปการศึกษารอบที่สองตามที่ ฯพณฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้เกริ่นนำเกี่ยวกับแวดวงการศึกษาหลังจากที่รับนโยบายจากท่านนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเมื่อได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนั้น เผอิญได้อ่านหนังสือ “มิลินทปัญหา”แล้วประทับใจกับเรื่อง “อาจาริยคุณมี ๒๕ ประการ” แม้ว่าโลกจะหมุนเร็วไปแค่ไหน แต่คุณสมบัติ ๒๕ ประการนี้ยังคงยึดเป็นแนวทางได้สำหรับคนเป็น “ครู”

“อาจาริยคุณมี ๒๕ ประการ” มีดังนี้

๑.อาจารย์อุปถัมภ์แก่ศิษย์ รักศิษย์เป็นนิจเนื่องไป

๒.อาจารย์รู้ว่าศิษย์นี้ควรจะคบหาไว้และคบหาไว้มิได้

๓.รู้ว่าศิษย์ประมาทและมิได้ประมาท

๔.รู้ว่าโอกาสแห่งศิษย์จะนอน

๕.รู้ว่าศิษย์เจ็บไข้

๖.รู้ดูเอาใจใส่ว่าศิษย์คนนั้นได้โภชนะอาหารแล้ว ศิษย์คนนี้ยังไม่ได้ซึ่งอาหาร

๗.อาจารย์รู้คุณวิเศษ

๘.อาจารย์พึงแจกส่วนอาหารให้ศิษย์

๙.อาจารย์พึงเล้าโลมศิษย์ว่าอย่ากลัว

๑๐.อาจารย์รู้ซึ่งจะสอนศิษย์ว่าบุคคลผู้นี้จำเริญ ประพฤติอย่างนี้ ควรที่ท่านจะประพฤติต่อไป

๑๑.อาจารย์รู้คามอุปจาร

๑๒.อาจารย์รู้คุณวิหารอุปจาร

๑๓.อาจารย์มิให้ศิษย์เล่นและหัวเราะเล่น

๑๔.อาจารย์เห็นว่าศิษย์เป็นโทษห้ามเสียซึ่งโทษอดโทษศิษย์

๑๕.มีปรกติอ่อนน้อมต่อศิษย์

๑๖.มีปรกติตักเตือนมิให้ขาดจากเล่าเรียน

๑๗.มิได้กระทำกำบังไว้ซึ่งอรรถอันลับแก่ศิษย์

๑๘.อาจารย์พึงคิดว่าจะให้ศิษย์รู้ศิลปศาสตร์

๑๙.อาจารย์พึงคิดว่าจะมิให้ศิษย์เสื่อมจากศิลปศาสตร์ อุปถัมภ์ใจศิษย์ให้ศิษย์มีจิตจำเริญ

๒๐.อาจารย์พึงคิดอุปถัมภ์ศิษย์ว่าอาตมาจะกระทำศิษย์นี้ ให้ศิษย์ศึกษาเล่าเรียนวิชานี้

๒๑.อาจารย์พึงตั้งจิตเมตตาต่อศิษย์

๒๒.อาจารย์มิได้ทิ้งศิษย์

๒๓.อาจารย์มิได้ทิ้งศิษย์เมื่ออันตรายมาถึง

๒๔.อาจารย์มิได้ประมาทในกิริยาอันควรจะกระทำแก่ศิษย์

๒๕.ธรรมที่ศิษย์เรียนเคลื่อนคลาดไป อาจารย์พึงยกขึ้นบอกให้

(อ้างอิงจากหนังสือมิลินทปัญหา หัวข้อ เมณฑกปัญหา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น