ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๕๒ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ ได้รับมหาอุปราชาภิเษกเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มหาเสนานุรักษ์ ตำแหน่งพระมหาอุปราช ในระยะนี้พระราชพงศาวดารได้บันทึกไว้ว่า พระองค์ได้ทรงสร้าง วัดใหม่ขึ้น ๓ วัด และสถาปนาวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง ๒ วัด ซึ่งในจำนวน ๒ วัดนี้ วัดบวรมงคล รวมอยู่ด้วยวัดหนึ่ง
ก่อนหน้านี้ วัดบวรมงคล มีชื่อเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า วัดลิงขบ เป็นวัดเก่าแก่ ภายหลังชาวรามัญอพยพเข้ามา พึ่งพระบรมโพธิสมภารมากขึ้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อยู่เป็นแห่ง ๆ ไป และมีจำนวนหนึ่งได้มา อาศัยอยู่เขต ตำบลวัดลิงขบ นี้ ดังนั้นจึงมีพระภิกษุสามเณรชาวรามัญเข้ามาอาศัยอยู่ใน วัดลิงขบนี้มากขึ้น ในจำนวนพระสงฆ์รามัญเหล่านั้น มีพระเถระผู้ใหญ่ที่มีผู้เคารพนับถือมากรูปหนึ่งมาเป็นประมุขสงฆ์อยู่ด้วย ท่านรูปนั้นคือ พระไตรสรณธัช ในขณะที่ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาเสนานุรักษ์ ทรงพิจารณา หาวัดที่สมควรแก่การบูรณะและสถาปนาอยู่นั้น พระองค์ก็ได้ทรงตระหนักในความสำคัญเกี่ยวกับ วัดบวรมงคลว่า วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ มีบริเวณกว้างขวางพอจะขยับขยายออกไปได้สะดวก ขณะนี้วัดนี้มีพระสงฆ์รามัญอยู่มาก และมีพระผู้ใหญ่เป็นประธานสงฆ์อยู่ด้วย สมควรจะบูรณะขึ้นให้เป็นวัดส่วนกลางสำหรับพระสงฆ์รามัญนิกาย เพื่อที่จะเป็นการสะดวกในการติดต่อประสานงานด้านการปกครองคณะสงฆ์ต่อไปอีกประการหนึ่งด้วย
ต่อมาก็มาพูดถึง...โรงเรียนวัดลิงขบ...กันต่อนะครับ...
โรงเรียนวัดลิงขบ เป็นชื่อโรงเรียนเดิมของโรงเรียนวัดบวรมงคล เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 1121 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 46 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700 ตั้งอยู่ในเขตพุทธาวาสของวัดบวรมงคล เนื้อที่ 9 ไร่ 3 งาน ทิศเหนือ ติดต่อกับ โรงเรียนทิวไผ่งาม ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนวัดบวรมงคล ทิศตะวันออก ติดต่อกับ วัดบวรมงคลริมแม่น้ำเจ้าพระยา และทิศตะวันตก ติดต่อกับชุมชนและมีทางออกสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอย 46 พูดง่ายๆคืออยู่ระหว่างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ากับสะพานกรุงธน นั่นเอง
วัดบวรมงคลนั้นแต่เดิมคือ วัดลิงขบ ชื่อนี้มีคำเล่าลือต่อๆกันมาว่า ลุงขบ เป็นผู้สร้าง ลุงขบเป็นผู้มีถิ่นฐานมั่นคงอยู่ในบริเวณแถวนี้ และมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงสร้างวัดนี้ถวายเป็นสังฆาราม ชาวบ้านนิยมนับถือลุงขบมาก จึงเรียกว่า " วัดลุงขบ "มาก่อน แต่ต่อมาภาษาได้กร่อนไป จึงกลายเป็น วัดลิงขบ
นามวัดที่เปลี่ยนจาก วัดลิงขบ มาเป็น วัดบวรมงคล นั้น ปรากฏตามบันทึกเรื่องราวของวัดบวรมงคลว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชทานนามใหม่ให้ และได้ทรงสถาปนาเป็นพระอารามหลวงเป็นครั้งแรก แต่ยังไม่มีผู้นิยม ยังคงเรียกกันติดปากว่าวัดลิงขบในสมัยนั้น ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ กรมขุนธิเบศร์บวร ปฏิสังขรณ์วัดอีกครั้งหนึ่ง แล้วพระราชทานนามใหม่อีกครั้งหนึ่งว่า "วัดบวรมงคลราชวรวิหาร" คนจึงเริ่มนิยมเรียกวัดบวรมงคล แทนวัดลิงขบมาตั้งแต่นั้น
สำหรับโรงเรียนวัดบวรมงคล หรือโรงเรียนวัดลิงขบ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2498 ในเขตธรณีสงฆ์ของวัดบวรมงคล ด้านทิศตะวันตก ผู้ก่อตั้งโรงเรียน คือ ท่านเจ้าคุณพระศรีวิสุทธิวงศ์ อดีตรองเจ้าอาวาสวัดบวรมงคล แต่การก่อสร้างอาคารเรียนไม่สามารถสร้างให้เสร็จทันเพื่อใช้เรียนในวันที่ 1 พฤษภาคม 2498 จึงต้องอาศัยระเบียงพระอุโบสถวัดบวรมงคล เป็นที่เรียนชั่วคราว จนวันที่ 1 มิถุนายน 2498 อาคารเรียนจึงสร้างเสร็จเป็นอาคารไม้สองชั้น
ปัจจุบัน โรงเรียนวัดบวรมงคล มีอาคารเรียน 2 หลัง มีอาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง สอนนักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่1 จนถึงชั้นมัธยมปีที่6 มีทั้งหมด 34 ห้อง มีนักเรียนชายหญิงรวมกัน 1058 คน และมีอาจารย์กับบุคลากรรวมกัน 60 คน
วิสัยทัศน์ของโรงเรียนมีว่า "รูปลักษณ์งามสง่า วาจางามเสนาะ ไม่ทะเลาะวิวาท ไม่เป็นทาสยาเสพติด" และคติธรรมประจำโรงเรียนมีว่า "พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นมงคลอันประเสริฐยิ่ง"
ก่อนหน้านี้ วัดบวรมงคล มีชื่อเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า วัดลิงขบ เป็นวัดเก่าแก่ ภายหลังชาวรามัญอพยพเข้ามา พึ่งพระบรมโพธิสมภารมากขึ้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อยู่เป็นแห่ง ๆ ไป และมีจำนวนหนึ่งได้มา อาศัยอยู่เขต ตำบลวัดลิงขบ นี้ ดังนั้นจึงมีพระภิกษุสามเณรชาวรามัญเข้ามาอาศัยอยู่ใน วัดลิงขบนี้มากขึ้น ในจำนวนพระสงฆ์รามัญเหล่านั้น มีพระเถระผู้ใหญ่ที่มีผู้เคารพนับถือมากรูปหนึ่งมาเป็นประมุขสงฆ์อยู่ด้วย ท่านรูปนั้นคือ พระไตรสรณธัช ในขณะที่ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาเสนานุรักษ์ ทรงพิจารณา หาวัดที่สมควรแก่การบูรณะและสถาปนาอยู่นั้น พระองค์ก็ได้ทรงตระหนักในความสำคัญเกี่ยวกับ วัดบวรมงคลว่า วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ มีบริเวณกว้างขวางพอจะขยับขยายออกไปได้สะดวก ขณะนี้วัดนี้มีพระสงฆ์รามัญอยู่มาก และมีพระผู้ใหญ่เป็นประธานสงฆ์อยู่ด้วย สมควรจะบูรณะขึ้นให้เป็นวัดส่วนกลางสำหรับพระสงฆ์รามัญนิกาย เพื่อที่จะเป็นการสะดวกในการติดต่อประสานงานด้านการปกครองคณะสงฆ์ต่อไปอีกประการหนึ่งด้วย
ต่อมาก็มาพูดถึง...โรงเรียนวัดลิงขบ...กันต่อนะครับ...
โรงเรียนวัดลิงขบ เป็นชื่อโรงเรียนเดิมของโรงเรียนวัดบวรมงคล เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 1121 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 46 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700 ตั้งอยู่ในเขตพุทธาวาสของวัดบวรมงคล เนื้อที่ 9 ไร่ 3 งาน ทิศเหนือ ติดต่อกับ โรงเรียนทิวไผ่งาม ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนวัดบวรมงคล ทิศตะวันออก ติดต่อกับ วัดบวรมงคลริมแม่น้ำเจ้าพระยา และทิศตะวันตก ติดต่อกับชุมชนและมีทางออกสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอย 46 พูดง่ายๆคืออยู่ระหว่างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ากับสะพานกรุงธน นั่นเอง
วัดบวรมงคลนั้นแต่เดิมคือ วัดลิงขบ ชื่อนี้มีคำเล่าลือต่อๆกันมาว่า ลุงขบ เป็นผู้สร้าง ลุงขบเป็นผู้มีถิ่นฐานมั่นคงอยู่ในบริเวณแถวนี้ และมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงสร้างวัดนี้ถวายเป็นสังฆาราม ชาวบ้านนิยมนับถือลุงขบมาก จึงเรียกว่า " วัดลุงขบ "มาก่อน แต่ต่อมาภาษาได้กร่อนไป จึงกลายเป็น วัดลิงขบ
นามวัดที่เปลี่ยนจาก วัดลิงขบ มาเป็น วัดบวรมงคล นั้น ปรากฏตามบันทึกเรื่องราวของวัดบวรมงคลว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชทานนามใหม่ให้ และได้ทรงสถาปนาเป็นพระอารามหลวงเป็นครั้งแรก แต่ยังไม่มีผู้นิยม ยังคงเรียกกันติดปากว่าวัดลิงขบในสมัยนั้น ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ กรมขุนธิเบศร์บวร ปฏิสังขรณ์วัดอีกครั้งหนึ่ง แล้วพระราชทานนามใหม่อีกครั้งหนึ่งว่า "วัดบวรมงคลราชวรวิหาร" คนจึงเริ่มนิยมเรียกวัดบวรมงคล แทนวัดลิงขบมาตั้งแต่นั้น
สำหรับโรงเรียนวัดบวรมงคล หรือโรงเรียนวัดลิงขบ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2498 ในเขตธรณีสงฆ์ของวัดบวรมงคล ด้านทิศตะวันตก ผู้ก่อตั้งโรงเรียน คือ ท่านเจ้าคุณพระศรีวิสุทธิวงศ์ อดีตรองเจ้าอาวาสวัดบวรมงคล แต่การก่อสร้างอาคารเรียนไม่สามารถสร้างให้เสร็จทันเพื่อใช้เรียนในวันที่ 1 พฤษภาคม 2498 จึงต้องอาศัยระเบียงพระอุโบสถวัดบวรมงคล เป็นที่เรียนชั่วคราว จนวันที่ 1 มิถุนายน 2498 อาคารเรียนจึงสร้างเสร็จเป็นอาคารไม้สองชั้น
ปัจจุบัน โรงเรียนวัดบวรมงคล มีอาคารเรียน 2 หลัง มีอาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง สอนนักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่1 จนถึงชั้นมัธยมปีที่6 มีทั้งหมด 34 ห้อง มีนักเรียนชายหญิงรวมกัน 1058 คน และมีอาจารย์กับบุคลากรรวมกัน 60 คน
วิสัยทัศน์ของโรงเรียนมีว่า "รูปลักษณ์งามสง่า วาจางามเสนาะ ไม่ทะเลาะวิวาท ไม่เป็นทาสยาเสพติด" และคติธรรมประจำโรงเรียนมีว่า "พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นมงคลอันประเสริฐยิ่ง"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น