เรื่องนี้มีคนเคยโทรศัพท์ไปถามอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต ท่านจึงนำมาตอบในหนังสือ ภาษาของเรามีรายละเอียดว่า
"กะหรี่ ที่เป็นภาษาปาก อันหมายถึงหญิงโสเภณีนั้น คงพูดย่อมาจากคำว่า "ชอกกาลี" นั่นเอง ครั้งแรกผมก็คิดว่าคงจะมาจากภาษาแขกกะมังจึงได้ถามท่านศาสตราจารย์ ดร.บรรจบ พันธุเมธา ว่าเป็นคำในภาษาแขกหรือเปล่า ท่านก็บอกว่า เป็นคำในภาษาแขกแน่ แต่คำในภาษาแขกไม่ได้หมายถึงผู้หญิงโสเภณี เขามีคำว่า โฉกกฬา แปลว่า เด็กชาย และคำว่า โฉกกฬี แปลว่าเด็กหญิง
คำว่า โฉกกฬี ก็คงจะพอใกล้กลับภาษาปากของเราที่ชอบเรียกผู้หญิงสาว ๆ ที่หากินทางนี้ว่า อีหนู นั่นเอง
เข้าใจว่า คำว่า โฉกกฬี นี่เอง ที่ได้เพี้ยนมาเป็น ชอกกาลี และกร่อนมาเป็น กะหรี่ ในภาษาไทย แต่ในภาษาแขก คำว่า โฉกกฬี หาได้หมายถึงหญิงโสเภณีไม่ คำที่เขาใช้หมายถึงหญิงโสเภณีนั้น เขามีอีกคำหนึ่ง คือคำว่า รัณฑี (อันนี้ลอกมาจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม เล่ม ๘ ครับ)
"กะหรี่ ที่เป็นภาษาปาก อันหมายถึงหญิงโสเภณีนั้น คงพูดย่อมาจากคำว่า "ชอกกาลี" นั่นเอง ครั้งแรกผมก็คิดว่าคงจะมาจากภาษาแขกกะมังจึงได้ถามท่านศาสตราจารย์ ดร.บรรจบ พันธุเมธา ว่าเป็นคำในภาษาแขกหรือเปล่า ท่านก็บอกว่า เป็นคำในภาษาแขกแน่ แต่คำในภาษาแขกไม่ได้หมายถึงผู้หญิงโสเภณี เขามีคำว่า โฉกกฬา แปลว่า เด็กชาย และคำว่า โฉกกฬี แปลว่าเด็กหญิง
คำว่า โฉกกฬี ก็คงจะพอใกล้กลับภาษาปากของเราที่ชอบเรียกผู้หญิงสาว ๆ ที่หากินทางนี้ว่า อีหนู นั่นเอง
เข้าใจว่า คำว่า โฉกกฬี นี่เอง ที่ได้เพี้ยนมาเป็น ชอกกาลี และกร่อนมาเป็น กะหรี่ ในภาษาไทย แต่ในภาษาแขก คำว่า โฉกกฬี หาได้หมายถึงหญิงโสเภณีไม่ คำที่เขาใช้หมายถึงหญิงโสเภณีนั้น เขามีอีกคำหนึ่ง คือคำว่า รัณฑี (อันนี้ลอกมาจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม เล่ม ๘ ครับ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น