ช่วงนี้ที่ มอ. จัดงานสัปดาห์หนังสือเลยได้มีโอกาสไปตระเวนล่าหนังสือเก่าในราคาประหยัดแต่คุ้มด้วยคุณค่า หนึ่งในจำนวนหนังสือที่ตกมาอยู่ในความครอบครองของผมก็คือ “หนังสือลิลิตทักษาพยากรณ์ พระนิพนธ์ใน สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี” ซึ่งทางหอสมุดแห่งชาติมีต้นฉบับเป็นสมุดไทยขาวและสมุดไทยดำ ต่อมาหลวงอรรถวาทีธรรมประวรรต (วิเชียร จันทร์หอม)ซึ่งเป็นผู้สนใจในวิชาโหราศาสตร์ได้มาขออนุญาตคัดลอกเพื่อนำไปชำระสอบทานกับฉบับที่ท่านมีไว้ในครอบครองและได้ทำคำอธิบายเฉลิมลิลิตเพิ่มเติม แล้วจัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑
ลิลิตเล่มนี้เป็นหนังสือที่พรรณนาหลักวิชาพยากรณ์ตามคัมภีร์ทักษาพยากรณ์ ท่านผู้ลิลิตได้พยายามร้อยกรองหลักวิชาและคำพยากรณ์ตามต้นตำรับทักษาพยากรณ์เดิม
ในลิลิตนี้จำแนกตามส่วนแห่งการพยากรณ์ออกเป็น ๓ ส่วนดังนี้
๑. นามชาติทักษา ซึ่งกล่าวถึงการพยากรณ์ชาติกำเนิด เรียกชาติทักษาอย่างหนึ่ง และกล่าวถึงนามคือ อันดับที่เท่าใดแห่งหญิงและชายที่เกิดร่วมครรภ์มารดาและบิดาเดียวกัน กับนามคือชื่อที่แต่งตั้งให้แก่บุคคล เรียกนามทักษาอีกอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างคำประพันธ์เช่น นามอันเกิดแต่กรรมฝ่ายชาย
“.............เขาหากปันชื่ออ้าย และจึงได้นามหนึ่ง ผู้ซึ่งเรียงรองมา รับฉายาชื่อญี่ ได้นามที่ส่วนสอง ผู้รองสองชื่อสาม ได้นามสามที่นั้น ผู้หลั่นสามชื่อไส ก็ได้ในนามสี่ ถัดที่สี่ชื่องัว ได้นามชัวที่ห้า ถัดท่าห้าชื่อหก ได้นามหกซิหนา ผู้ถัดว่าชื่อเจ็ด ได้นาเขบ็จเจ็ดเล่า ผู้ต่อเข้าชื่อแปด เป็นนามแปดดั่งนั้น ผู้เรียงหั้นแห่งเก้า กลับเข้าเป็นหนึ่ง ผู้เกิดขึ้นเป็นสิบ หยิบเอาเป็นนามหนึ่ง สิ้นซินะ...”
๒.ประวัติทักษา กล่าวถึงการพยากรณ์ปัจจุบัน คือทำนายเหตุการณ์ตามความหมุนเวียน หรือการโคจรของดาวเคราะห์ภายหลังกำเนิด (เรียก “ปัจจุบันทักษา”ก็มี)
ตัวอย่างคำประพันธ์ เช่น
“...............ผิจะกล่าวกลวิธีใด โดยคดีโหรทั้งหลาย ทักทายทุกข์สุขลาภ เป็นสุภาพพิปริต ในทิศทักษา ภูมิพยากรณัง จึงให้ตั้งชีพโหรา เอานพาภูมิหาร เศษนับวารเกิดก็ดี หนึ่งนับปีเกิดก็ได้ ให้นับไปแต่นั้นมา เวียนวงขวาทักษิณวัฏฏ์ ถัดอิสานลัดเข้าไป ภูมิในแต้มตากลาง ล่วงออกทางบูรพาทิศ สิ้นเสร็จกิจกาไว้ ภูมินั้นไซร้ที่หมาย ทายโทษทุกข์สุขา ในตีนกานั้นก่อน .............”
๓.จุกทักษา กล่าวถึงลักษณะสงพงศ์ซึ่งหญิงชายผู้จะทำการสมรส จะพึงอยู่ร่วมกันดีและไม่ดี
ตัวอย่างคำประพันธ์ เช่น
“ครุฑกับอัช
ครุฑแพะสังวาสชู้.................................ภิรมย์สม
เป็นแต่มัธยม........................................หนึ่งน้อ
ถ้าศรีตนุถม...........................................ทับลัคน์
ก็ประเสริฐเลิศฟ้อ.................................เฟื่องฟุ้งบำรุงสมาน”
มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีแถมพกให้ว่า พระองค์ทรงมีสมญาว่า “นายโรงระบำ” ดังปรากฏในหนังสือเล่มนี้ว่า
“ทักษาพยากรณ์นี้..............................เรียมรบาย
ระบุขยายสายศิลป์.............................สืบไว้
คือเนาว์สุวรรณ์นาย...........................โรงระบำ...นี้ฤๅ
พิทักษมนตรีไซร้...............................เสด็จฟ้ากรมหลวง”
เนื่องจาก เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องใดแล้ว พระราชทานไปให้สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีคิดวิธีรำนำบท บางทีบทใดรำขัดข้องต้องแก้บทเข้าหาวิธีรำก็มี สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีเป็นผู้คิดท่ารำให้เข้ากับบท กล่าวกันว่า เอาพระฉายมาตั้งและทรงประดิษฐ์ท่ารำโดยกระบวนที่ดูเงาในพระฉาย เมื่อยังมีละครข้างใน แม้ในสมัยรัชกาลที่๔-๕ เวลาไหว้ครูละครก็ยังนบไหว้ออกพระนามพระองค์ไว้ด้วย
ผลงานอีกชิ้นที่ยังฝากฝีมือไว้ในแผ่นดินและเราคงผ่านสายตาเมื่อคราวงานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ คือ เกรินบันไดนาคอันเป็นเครื่องชะลอพระโกศขึ้นบนพระมหาพิชัยราชรถ พระองค์ก็ทรงเป็นผู้คิดประดิษฐ์ขึ้นมานั่นเอง
ลิลิตเล่มนี้เป็นหนังสือที่พรรณนาหลักวิชาพยากรณ์ตามคัมภีร์ทักษาพยากรณ์ ท่านผู้ลิลิตได้พยายามร้อยกรองหลักวิชาและคำพยากรณ์ตามต้นตำรับทักษาพยากรณ์เดิม
ในลิลิตนี้จำแนกตามส่วนแห่งการพยากรณ์ออกเป็น ๓ ส่วนดังนี้
๑. นามชาติทักษา ซึ่งกล่าวถึงการพยากรณ์ชาติกำเนิด เรียกชาติทักษาอย่างหนึ่ง และกล่าวถึงนามคือ อันดับที่เท่าใดแห่งหญิงและชายที่เกิดร่วมครรภ์มารดาและบิดาเดียวกัน กับนามคือชื่อที่แต่งตั้งให้แก่บุคคล เรียกนามทักษาอีกอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างคำประพันธ์เช่น นามอันเกิดแต่กรรมฝ่ายชาย
“.............เขาหากปันชื่ออ้าย และจึงได้นามหนึ่ง ผู้ซึ่งเรียงรองมา รับฉายาชื่อญี่ ได้นามที่ส่วนสอง ผู้รองสองชื่อสาม ได้นามสามที่นั้น ผู้หลั่นสามชื่อไส ก็ได้ในนามสี่ ถัดที่สี่ชื่องัว ได้นามชัวที่ห้า ถัดท่าห้าชื่อหก ได้นามหกซิหนา ผู้ถัดว่าชื่อเจ็ด ได้นาเขบ็จเจ็ดเล่า ผู้ต่อเข้าชื่อแปด เป็นนามแปดดั่งนั้น ผู้เรียงหั้นแห่งเก้า กลับเข้าเป็นหนึ่ง ผู้เกิดขึ้นเป็นสิบ หยิบเอาเป็นนามหนึ่ง สิ้นซินะ...”
๒.ประวัติทักษา กล่าวถึงการพยากรณ์ปัจจุบัน คือทำนายเหตุการณ์ตามความหมุนเวียน หรือการโคจรของดาวเคราะห์ภายหลังกำเนิด (เรียก “ปัจจุบันทักษา”ก็มี)
ตัวอย่างคำประพันธ์ เช่น
“...............ผิจะกล่าวกลวิธีใด โดยคดีโหรทั้งหลาย ทักทายทุกข์สุขลาภ เป็นสุภาพพิปริต ในทิศทักษา ภูมิพยากรณัง จึงให้ตั้งชีพโหรา เอานพาภูมิหาร เศษนับวารเกิดก็ดี หนึ่งนับปีเกิดก็ได้ ให้นับไปแต่นั้นมา เวียนวงขวาทักษิณวัฏฏ์ ถัดอิสานลัดเข้าไป ภูมิในแต้มตากลาง ล่วงออกทางบูรพาทิศ สิ้นเสร็จกิจกาไว้ ภูมินั้นไซร้ที่หมาย ทายโทษทุกข์สุขา ในตีนกานั้นก่อน .............”
๓.จุกทักษา กล่าวถึงลักษณะสงพงศ์ซึ่งหญิงชายผู้จะทำการสมรส จะพึงอยู่ร่วมกันดีและไม่ดี
ตัวอย่างคำประพันธ์ เช่น
“ครุฑกับอัช
ครุฑแพะสังวาสชู้.................................ภิรมย์สม
เป็นแต่มัธยม........................................หนึ่งน้อ
ถ้าศรีตนุถม...........................................ทับลัคน์
ก็ประเสริฐเลิศฟ้อ.................................เฟื่องฟุ้งบำรุงสมาน”
มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีแถมพกให้ว่า พระองค์ทรงมีสมญาว่า “นายโรงระบำ” ดังปรากฏในหนังสือเล่มนี้ว่า
“ทักษาพยากรณ์นี้..............................เรียมรบาย
ระบุขยายสายศิลป์.............................สืบไว้
คือเนาว์สุวรรณ์นาย...........................โรงระบำ...นี้ฤๅ
พิทักษมนตรีไซร้...............................เสด็จฟ้ากรมหลวง”
เนื่องจาก เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องใดแล้ว พระราชทานไปให้สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีคิดวิธีรำนำบท บางทีบทใดรำขัดข้องต้องแก้บทเข้าหาวิธีรำก็มี สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีเป็นผู้คิดท่ารำให้เข้ากับบท กล่าวกันว่า เอาพระฉายมาตั้งและทรงประดิษฐ์ท่ารำโดยกระบวนที่ดูเงาในพระฉาย เมื่อยังมีละครข้างใน แม้ในสมัยรัชกาลที่๔-๕ เวลาไหว้ครูละครก็ยังนบไหว้ออกพระนามพระองค์ไว้ด้วย
ผลงานอีกชิ้นที่ยังฝากฝีมือไว้ในแผ่นดินและเราคงผ่านสายตาเมื่อคราวงานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ คือ เกรินบันไดนาคอันเป็นเครื่องชะลอพระโกศขึ้นบนพระมหาพิชัยราชรถ พระองค์ก็ทรงเป็นผู้คิดประดิษฐ์ขึ้นมานั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น