เดิมเมืองตะกั่วป่าซึ่งอยู่ภายในการปกครองในอาณาจักร ของคนไทยมาตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรอยุธยา อาณาจักรธนบุรี จนถึงอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ได้บันทึกไว้ว่า สมัยรัชกาลที่ 2 พม่าได้ยกทัพทาตีเมืองตะกั่วป่าซึ่งขณะนั้นตั้งเมือง อยู่ที่บ้านตะกั่วป่า (ปัจจุบันอยู่ที่หมู่ 8 ตำบลโคกเคียน อำเภอตะกั่วป่า) มีพระยาตะกั่วป่า (อู)เป็นเจ้าเมือง และพม่าได้ตีทำลายเมืองตะกั่วป่าจนเสียหายในปี พ.ศ.2352
สมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริจะป รับปรุงหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันตกที่ถูกพม่าทำลายให ้กลับฟื้นคืนใหม่ให้มีความเข้มแข็งและสามารถป้องกันต นเองได้ ดังนั้นในปี พ.ศ.2383 จึงโปรดเกล้าฯให้พระยาไทรบุรี (แสง ณ นคร) เป็นพระยาบริรักษ์ภูธรเจ้าเมืองพังงาให้พระยาเสนานุช ิต (นุช ณ นคร) น้องชายปลัดเมืองไทรบุรีมารักษาเมืองตะกั่วป่า และให้พระยาโลหะบริสุทธิ์ภูมินทราบดี (ถิน) มาเป็นเจ้าเมืองตะกั่วทุ่งโดยให้ทั้ง 3 ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯเมื่อพระยาเสนานุชิต (นุช ณ นคร) มาปกครองเมืองตะกั่วป่า เห็นว่าเมืองตะกั่วป่า (บ้านตะกั่วป่า) ถูกพม่าทำลายเสียหายมาก ยากแก่การบำรุงรักษาให้ดีขึ้น จึงได้ย้ายเมืองมาตั้งใหม่ที่ใกล้วัดหน้าเมือง (ตลาดใหญ่) ถนนอุดมธารา เขตเทศบาลเมืองตะกั่วปาปัจจุบัน เพราะเห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะสมชั่วระยะเวลาที่ท่านป กครองเพียงไม่นานตะกั่วป่าก็เจริญรุ่งเรืองมาก เพราะนโยบายจากส่วนกลางที่ให้เจ้าเมืองทำเหมืองแร่ แล้วส่งเงินรายได้เข้ากรุงเทพฯเป็นรายได้แผ่นดิน ท่านได้มีความดีความชอบจนได้โปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นพ ระยาเสนานุชิตสิทธิศาสตรามหาสงคราม เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองตะกั่วป่า
ที่ชุมชนคลองปิ มีชาวจีนเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีโรงถลุงแร่ดีบุกของเถ้าแก่หลิม บุน ต๊ก ส่วนมากชาวจีนนับถือเทพเจ้ากวนอู ต่อมาเถ้าแก่หลิม บุน ต๊ก ได้ก่อตั้งศาลเจ้าขึ้นมีองค์เทพเจ้ากวนอู และได้ทำพิธีกินผักหรือชาวจีนเรียกว่า “เจียะกิวอ่องฉ่าย” เมื่อ พ.ศ.2386 ปีมะเส็ง เดือน 9 ขึ้น 1 ค่ำ ถึงขึ้น 9 ค่ำ (เก้าวัน เก้าคืน) ตามปฏิทินจีน ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นเสาแขวนตะเกียง 9 ดวง เรียกว่า “กิ้วอ๋องเต้ง” มาเป็นเวลานาน ต่อจากนั้นก็ได้ย้ายไปทำพิธีกินผักที่บ้านแซ่หลิมในต ลาด
เมืองตะกั่วป่าขณะนั้นมีแป๊ะติว ก่าว หยี่ (นายก่าวหยี่) เป็นผู้ดูแลศาลเจ้าพ่อกวนอูอยู่เป็นหลายปี ต่อมาเจ้าพ่อกวนอูได้ประทับร่างทรงของท่านบอกกับคณะก รรมการศาลเจ้าในขณะนั้นว่า ท่านจะไปตันเหล่า หรือเกาะสองของพม่า เพื่อไปปราบปรามและโปรดสัตว์ โปรดมนุษย์พร้อมกับรักษาคนจีนที่สูบฝิ่นและคนป่วยด้ว ย
พอวีนที่กำหนด แป๊ะติว ก่าว หยี่ ก็ทำพิธีอัญเชิญเทพเจ้าพ่อกวนอู (รูปบุ่นซิ่น) ที่เป็นรูปอันเก่าแก่ของศาลเจ้าใส่ตะกร้าหวายพร้อมจุ ดธูป 9 ดอก และนำธงกวนเซ่งแต่กุ้นผืนเขียวไปด้วย ได้ลงเรือใบที่ท่าจับเสเดินทางไประนอง แล้วเดินทางต่อไปยังเกาะสอง แป๊ะก่าวหยี่ได้เล่าให้ฟังว่า แกมีความแปลกใจมากเมื่อเรือเทียบท่าที่เกาะสองได้มีเ สียงล้อก้อตีขึ้น มีธงจีนชื่อพระประดับประดาเต็มไปหมด ได้มีเถ้าแก่ใหญ่ใส่ชุดขาว มีธูปที่ถือจุดแล้ว 9 ดอก นั่งกุ่ยอยู่ (นั้งคุกเข่าโขกศรีษะ) อยู่ที่ท่าเรือเพื่อรอรับเทพเจ้ากวนอู ต่อจากนั้นได้ทำพิธีอัญเชิญเทพเจ้ากวนอูขึ้นประทับเก ่วแห่ไปทั่วตลาดเกาะสองเมืองพม่าจนถึงโรงพิธี แป๊ะก่าวหยี่ได้สอบถามว่ารู้ได้อย่างไรว่าเทพเจ้ากวน อูจะมาที่นี่ เถ้าแก่ที่มาต้อนรับได้ตอบว่าเพราะเทพเจ้ากวนอูได้แส ดงอภินิหารเข้าฝันท่าน ว่าเจ้าพ่อที่อยู่ตะกั่วป่าจะมาที่ตันเหล่า (เกาะสอง) เพื่อทำการรักษาคนจีนที่ติดฝิ่นและปราบปรามคนจีนที่ส ูบฝิ่นด้วย ขอให้ข้าพเจ้า (เถ้าแก่แซ่ตัน) ต้อนรับด้วย จึงได้ปฏิบัติตามความฝัน ในเวลาต่อมาเจ้าพ่อกวนอูได้ประทับร่างทรงคนจีนที่อยู ่เกาะสองได้ทำการรักษาคนจีนที่ติดฝิ่นและคนป่วย เจ้าพ่อกวนอูประทับอยู่ที่เกาะสอง (ตันเหล่า) ถึงประมาณ 3 ปี จึงได้ลาชาวจีนและตันเถ้าแก่เพื่อกลับตะกั่วป่า ก่อนจะเดินทางกลับตันเถ้าแก่ที่ตันเหล่าได้มอบกิ้มซิ ่นรูปพระ 2 องค์ คือ รูปเต้เอี๋ยเทพเจ้ากวนอู เป็นรูปยืนแต่งตัวเป็นนักรบ (บู่ซิ่น) และรูปโลเฉี่ย (ต่งตั๋นหวั่นโซ่ย) เพื่อเป็นที่สักการะของชาวตะกั่วป่าต่อไป กลับถึงตะกั่วป่าแป๊ะก่าวหยี่ได้อัญเชิญกิมซิ่นทั้ง 3 องค์เข้าประทับที่บ้านของแปฮก จง เส็ง (หลิม ฮก เส็ง) และได้จัดพิธีกินผักเจียะกิวอ่องฉ่ายอยู่หลายปี
นายหลิม เอ๋ง เซ่ง (เถ้าแก่พ่อแดง) บุตรของแป๊ะหลิม บุน ต๊กได้ทราบว่าจะสร้างศาลเจ้าพ่อกวนอูให้เป็นหลักฐานท ี่แน่นอนเสียที เป็นศาลเจ้าอันถาวรต่อไป จึงได้ทำการเรี่ยไรเงินจากสมาชิกและชาวตะกั่วป่าขอซื ้อบ้านของป้านอง (สามีเป็นคนจีนแซ่ตัน) ตกลงขายในราคา 500 บาท ขอต่อรองป้านองจึงขายในราคา 450 บาท ทางคณะกรรมการศาลจึงได้ย้ายมาอยู่บ้านแห่งใหม่ ให้ชื่อว่า ศาลเจ้าพ่อกวนอู (โป้ยฮ่องซ่านเบ่ว) เมื่อ พ.ศ.2445 จนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ.2485 ทางการมหาดไทยได้ให้ศาลเจ้าและสมาคมต่างๆไปขึ้นจดทะเ บียนเข้าในสังกัดมหาดไทย ในขณะนั้นแป๊ะเอี๋ยว ซุ่ย อี๋ เป็นผู้จัดการศาลเจ้าพ่อกวนอูอยู่ได้มอบหมายให้แป๊ะห งอ เช่ง อั้น (แป๊ะอั้น) ซึ่งเป็นผู้จัดการศาลเจ้า(เที่ยนหูหวั่นโซ้ย) ตลาดเหนือ อยู่ช่วยเป็นผู้จดทะเบียนแทรศาลเจ้าพ่อกวนอูตลาดใต้ด ้วย แป๊ะอั้นก็ได้จดทะเบียนโรงพระตลาดเหนือว่า “กู้ฉ่ายตึ้ง” เทียนหูหวั่นโซ้ย ส่วนโรงพระตลาดใต้แป๊ะอั้นได้จดทะเบียนว่า “ซิ่นฉ่ายตึ๋ง” ศาลเจ้าพ่อกวนอู ได้มีนามอิว ซุน เอียน (แป๊ะไข่เต่า) เป็นผู้จัดการ และมีนายแจ่ จู เท่ง (โกเท่ง) เป็นผู้จัดการสอดส่องตัวอาคาร เนื้อที่บริเวณของศาลเจ้า รูปเทพเจ้าทุกพระองค์ สมบัติต่างๆของศาลเจ้า ตลอดจนร่างทรงของเทพเจ้าทุกคน จะต้องจดทะเบียนขึ้นในสังกัดของมหาดไทยทั้งหมด ส่วนตัวอาคารและเนื้อที่บริเวณของศาลเจ้าเป็นของธรณี สงฆ์ขึ้นตรงต่อมหาดไทย เป็นของหลวงทั้งหมดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ผู้เขียน และเรียบเรียงโดย คุณนิกร คันธวณิชพันธุ์ เรียบเรียงจากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุรุ่นก่อน ๆไว้ อาทิเช่น
1. แป๊ะตัน เผ็ก หย่อง
2. แป๊ะติ้ว ก๊าว หยี
3. แป๊ะเอียบ อา จ้า
4. แป๊ะเอี๋ยว ซุ่ย อี๋
5. แป๊ะหลิม เหียง จุ (แป๊ะก่าว เกีย)
ศาลเจ้าพ่อกวนอู "โป้ยฮองซ่านเบ่ว"
ได้กินผัก "เจียะกิวอ่องฉ่าย"
เมื่อ พ.ศ.2386 ถึง พ.ศ.2548 เป็นเวลา 162 ปี
พ.ศ.2386 ได้กินผักที่ชุมชนคลองปิ ถึง พ.ศ. 242135 ปี
ได้กินผักที่บ้านแซ่หลิม ถึง พ.ศ. 243615 ปี
ได้ไปตันเหลา เกาะสอง (พม่า) ถึง พ.ศ. 24393 ปี
ได้มาอยู่บ้านหลิมฮกเซ่ง ถึง พ.ศ. 24456 ปี
ได้มาอยู่ศาลเจ้าปัจจุบัน สมัยหลิมเอ๋งเซ่ง (พ่อแดง) ถึง พ.ศ. 247934 ปี
สมัยแป๊ะเอี๋ยวซุ่นอี๋ นายตันเต็กฮุ่ยรับ 251940 ปี
สมัยตันเต็กฮุ่ย (นายไต้) นายก่ำ เอ๋ง บิ๋น รับ 254526 ปี
สมัย ก่ำ เอ๋ง บิ้น (นายบิน) ถึงปัจจุบัน พ.ศ. 25483 ปี
ได้กินผัก "เจียะกิวอ่องฉ่าย" มาเป็นเวลา162 ปี
ปัจจุบันนี้ พ.ศ.2548 ได้มี นายสุวิทย์ สุราฤทธิ์ เป็นผู้จัดการรับช่วงต่อไป
( บทความนี้ไปค้นเจอมาจึงได้นำมาผนวกรวมไว้ในบล็อกของผมเพื่อความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองตะกั่วป่า)
ข้อมูลที่ลงนั้นถูกต้องแล้ว เพราะจากการบอกเล่าจากแม่ของดิฉันซึ่งเป็นหลานของก๋งเท่ง ผู้ดูแลตัวอาคารและสถานที่ในสมัยนั้น พร้อมยังเป็นผู้อัญเชิญพระต่าง ๆ เข้าประทับร่างทรง และยังเป๋นร่างทรงด้วย และตอนนี้ในเครือญาติของดิฉันก็ยังทำหน้าที่ในศาลเจ้าอยู่
ตอบลบขอบคุณสำหรับการแพร่ข้อมูลดีดีและถูกต้องด้วยค่ะ
เป็นเรื่องแปลกนะ ที่ทวดของผม ติ๋ว ก่าว ยี่ ที่เคยเป็นร่างทรงของเจ้าพ่อกวนอู แซ่เดียวกับเจ้าของบ้านที่ซื้อมาเป็นศาลเจ้าในปัจจุบัน คือบ้านป้านอง (สามีเป็นคนจีนแซ่ตัน)
ตอบลบรวมทั้งคนที่เกาะสอง ที่เป็นคนตั้งขบวนต้อนรับเทพกวนอู ก็ แซ่ตัน(เถ้าแก่แซ่ตัน)
ในความเป็นจริง สุดท้ายทวด ติ๋ว ก่าว ยี่ ก็มามีลูกเขยแซ่ตัน ก็คือคุณตาผม และลูกเขย ของคุณตาของผม ก็คือคุณพ่อของผมก็กลายมาเป็นร่างทรงที่ศาลเจ้า นานกว่าสิบปีจนถึงปัจจุบัน พ่อผมก็คือ คนร่างทรง ปุนเท่ากง หรือฮกเต็กเจ้งซิ่น นั่นแหละ
อีกเรื่องหนึ่ง ลุงบิน (ก่าม เฮ่ง บิ้น) อดีตผู้จัดการศาลเจ้า เพื่อนรักของพ่อผม ผมคุ้นเคยกับท่านมาก และเป็นคนช่วยบูรณะศาลเจ้าฝั่งเดิมจากห้องแคบๆ มาจนกว้างขึ้นในปัจจุบัน จะมีใครซักกี่คนจะรู้ว่า ท่านเคยเติบโตมา เดิมลุงบินและเป็นญาติสนิทกับตระกูลแซ่หลิมตามประวัติการก่อตั้งศาลเจ้า และลึกไปกว่านั้น พระประจำตระกูลของ ลุงบิน แซ่ก่าม ชื่อองค์ก่ามเซ่งเอี๋ย มี 9 องค์ 9 พี่น้องเป็น เจ้าเมือง 9 มณฑล หากลองไล่ประวัติดู จากประวัติของพระตระกูลแซ่หลิม กล่าวว่า ท่านปุนเถ่ากง(ชาติหนึ่งของฮกเต็กเจ้งซิ่น) เป็นทายาทสืบสายสกุลแซ่หลิมรุ่นที่ ๑๕ นับจาก จิ้นอานอ๋อง หรือ หลิมฮู้ไท่ซืออ๋อง ( หลินลู่กง ) ท่านปุนเถ่ากงได้รับราชการในสมัยราชวงศ์ถัง ระหว่าง พ.ศ. ๑๑๖๓ - ๑๔๕๑ โดยดำรงตำแหน่งข้าหลวงเมือง โกเพ้ง ท่านมีบุตรชายสามคน ชื่อ หลินเถากง หลินพีกง และ หลินเชียงกง บุตรทั้งสามของท่านนับว่าเป็นอภิชาตบุตร หลานของท่านที่เป็นบุตรของท่านพีกงได้ชื่อว่าเป็น เก้ามู่ (ตามคำบอกเล่า คือ องค์ก่ามเซ่งเอี๋ย)ทั้งเก้าคนได้เป็นข้าหลวงปกครองเมืองต่างๆแถบฝูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน) กว่างตงและใกล้เคียง ท่านปุนเถ่ากงได้บริหารบ้านเมืองปกครองอาณาประชาราษฎรด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรมราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขกันถ้วนหน้า ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ทำให้ราษฎรเคารพรักใคร่ท่าน หลังจากที่ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ทางการจึงได้สร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณความดีและสักการะเซ่นไหว้ ราษฎรที่เคารพท่านต่างก็นำรูปท่านเป็นองค์ประธานในบ้านเพื่อกราบไหว้สืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้สร้างปุนเถ่าม่าผู้เป็นฮูหยินของท่านปุนเถ่ากงอีกด้วย
จากที่กล่าวมาสังเกตุมั้ย ว่าการวนเวียนของแซ่ หลิม แซ่ติ๋ว แซ่ตัน แซ่ก่าม มีความผูกพันธ์กันมาแต่ดั้งเดิม สมัยโบราณ และยังต้องมาผูกพันธ์กันอีก โดยที่บางคนหาได้รู้ไม่ว่าดั้งเดิมนั้นตระกูลของตน เคยมีความผูกพันธ์กันอย่างไร สำหรับผมนะคิดว่า เหมือนพวกเราลูกหลานทั้งหลาย มีหน้าที่ในบำรุงการรักษาศาลเจ้าพ่อกวนอูแห่งนี้ ให้อยู่คู่กับพวกเรานานเท่านานและสืบทอดไปยังลูกหลานรุ่นต่อๆ ไป อยากจะให้ลูกหลานชาวตะกั่วป่าทุกคน เชื่อในตัวอย่างที่ผมยกมาให้ทราบนี้ ที่นี้ที่แรก อยากให้ทุกๆ คน ทุกๆ แซ่ ไม่ว่าแซ่อะไรก็ตาม รับรู้ถึงหน้าที่เหล่านี้ เรามาช่วยกันครับ
ตัน ฮ่อ ฮก
Chen Brian
เป็นเรื่องแปลกนะ ที่ทวดของผม ติ๋ว ก่าว ยี่ ที่เคยเป็นร่างทรงของเจ้าพ่อกวนอู แซ่เดียวกับเจ้าของบ้านที่ซื้อมาเป็นศาลเจ้าในปัจจุบัน คือบ้านป้านอง (สามีเป็นคนจีนแซ่ตัน)
ตอบลบรวมทั้งคนที่เกาะสอง ที่เป็นคนตั้งขบวนต้อนรับเทพกวนอู ก็ แซ่ตัน(เถ้าแก่แซ่ตัน)
ในความเป็นจริง สุดท้ายทวด ติ๋ว ก่าว ยี่ ก็มามีลูกเขยแซ่ตัน ก็คือคุณตาผม และลูกเขย ของคุณตาของผม ก็คือคุณพ่อของผมก็กลายมาเป็นร่างทรงที่ศาลเจ้า นานกว่าสิบปีจนถึงปัจจุบัน พ่อผมก็คือ คนร่างทรง ปุนเท่ากง หรือฮกเต็กเจ้งซิ่น นั่นแหละ
อีกเรื่องหนึ่ง ลุงบิน (ก่าม เฮ่ง บิ้น) อดีตผู้จัดการศาลเจ้า เพื่อนรักของพ่อผม ผมคุ้นเคยกับท่านมาก และเป็นคนช่วยบูรณะศาลเจ้าฝั่งเดิมจากห้องแคบๆ มาจนกว้างขึ้นในปัจจุบัน จะมีใครซักกี่คนจะรู้ว่า ท่านเคยเติบโตมา เดิมลุงบินและเป็นญาติสนิทกับตระกูลแซ่หลิมตามประวัติการก่อตั้งศาลเจ้า และลึกไปกว่านั้น พระประจำตระกูลของ ลุงบิน แซ่ก่าม ชื่อองค์ก่ามเซ่งเอี๋ย มี 9 องค์ 9 พี่น้องเป็น เจ้าเมือง 9 มณฑล หากลองไล่ประวัติดู จากประวัติของพระตระกูลแซ่หลิม กล่าวว่า ท่านปุนเถ่ากง(ชาติหนึ่งของฮกเต็กเจ้งซิ่น) เป็นทายาทสืบสายสกุลแซ่หลิมรุ่นที่ ๑๕ นับจาก จิ้นอานอ๋อง หรือ หลิมฮู้ไท่ซืออ๋อง ( หลินลู่กง ) ท่านปุนเถ่ากงได้รับราชการในสมัยราชวงศ์ถัง ระหว่าง พ.ศ. ๑๑๖๓ - ๑๔๕๑ โดยดำรงตำแหน่งข้าหลวงเมือง โกเพ้ง ท่านมีบุตรชายสามคน ชื่อ หลินเถากง หลินพีกง และ หลินเชียงกง บุตรทั้งสามของท่านนับว่าเป็นอภิชาตบุตร หลานของท่านที่เป็นบุตรของท่านพีกงได้ชื่อว่าเป็น เก้ามู่ (ตามคำบอกเล่า คือ องค์ก่ามเซ่งเอี๋ย)ทั้งเก้าคนได้เป็นข้าหลวงปกครองเมืองต่างๆแถบฝูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน) กว่างตงและใกล้เคียง ท่านปุนเถ่ากงได้บริหารบ้านเมืองปกครองอาณาประชาราษฎรด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรมราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขกันถ้วนหน้า ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ทำให้ราษฎรเคารพรักใคร่ท่าน หลังจากที่ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ทางการจึงได้สร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณความดีและสักการะเซ่นไหว้ ราษฎรที่เคารพท่านต่างก็นำรูปท่านเป็นองค์ประธานในบ้านเพื่อกราบไหว้สืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้สร้างปุนเถ่าม่าผู้เป็นฮูหยินของท่านปุนเถ่ากงอีกด้วย
จากที่กล่าวมาสังเกตุมั้ย ว่าการวนเวียนของแซ่ หลิม แซ่ติ๋ว แซ่ตัน แซ่ก่าม มีความผูกพันธ์กันมาแต่ดั้งเดิม สมัยโบราณ และยังต้องมาผูกพันธ์กันอีก โดยที่บางคนหาได้รู้ไม่ว่าดั้งเดิมนั้นตระกูลของตน เคยมีความผูกพันธ์กันอย่างไร สำหรับผมนะคิดว่า เหมือนพวกเราลูกหลานทั้งหลาย มีหน้าที่ในบำรุงการรักษาศาลเจ้าพ่อกวนอูแห่งนี้ ให้อยู่คู่กับพวกเรานานเท่านานและสืบทอดไปยังลูกหลานรุ่นต่อๆ ไป อยากจะให้ลูกหลานชาวตะกั่วป่าทุกคน เชื่อในตัวอย่างที่ผมยกมาให้ทราบนี้ ที่นี้ที่แรก อยากให้ทุกๆ คน ทุกๆ แซ่ ไม่ว่าแซ่อะไรก็ตาม รับรู้ถึงหน้าที่เหล่านี้ เรามาช่วยกันครับ
ตัน ฮ่อ ฮก
Chen Brian